Home  :: ยุทธฯ ที่ ๑ ข้อมูลสารสนเทศ   :: ยุทธฯ ที่ ๒ การจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง  :: ยุทธฯ ที่ ๓ การจัดทำศูนย์การเรียนรู้
>> ตำบลขุนแม่ลาน้อย
>>กลับหน้าหลัก<<

>>ตำบลขุนแม่ลาน้อย
ประวัติความเป็นมา
    ดั้งเดิมเป็นตำบลที่รวมกับตำบลแม่นาจาง  และประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ได้แยก ตำบลขึ้นมาใหม่ เป็นตำบลขุนแม่ลาน้อย ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ได้แก่
     หมู่ที่ 1 บ้านขุนแม่ลาน้อย
     หมู่ที่ 2 บ้านส้มป่อย
     หมู่ที่ 3 บ้านป่าแก่
     หมู่ที่ 4 บ้านฟักทอง
     หมู่ที่ 5 บ้านผาไหว
         
สภาพทั่วไปของตำบล

พื้นที่ทำกินเป็นภูเขาสูงฝนตกชุกการคมนาคมยากลำบากประชาชน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่า
กะเหรี่ยงนับถือศาสนาคริสต์ อากาศเย็นเกือบตลอดทุกเดือน  โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว หนาวเยือกเย็นมาก ๆ

         
อาณาเขตตำบล

     ทิศเหนือ ติดกับ ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
     ทิศใต้ติดกับ ต.แม่นาจาง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
     ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ปางหินฝนอ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
     ทิศตะวันตก ติดกับ ต.แม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
         
จำนวนประชากรของตำบล

     จำนวนประชากรในเขต อบต.  ๒,๗๗๑ คน และจำนวนหลังคาเรือน 544 หลังคาเรือน ๖๓๔ ครัวเรือน
          
ข้อมูลอาชีพของตำบล

     อาชีพหลักคือ ทำสวน ทำไร่(พืชเกษตรหลัก คือ กะหล่ำ )

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
     จากอำเภอแม่ลาน้อยไปตำบลขุนแม่ลาน้อย  ๖๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมงโดยใช้เส้นทาง ถนนทางหลวงแผ่นดิน ๑๐๘ ถึงสามแยกตรง จุดตรวจสกัดกั้นของ
ตชด.๓๓๗ ให้เลี้ยวขวา(ปากทางแม่โถ) มุ่งสู่ตำบล
ขุนแม่ลาน้อย ๔๐ กิโลเมตร  ซึ่งจะต้องผ่าน
ตำบลแม่โถก่อน แล้วให้เลี้ยวซ้ายสามแยกระหว่างไปแม่นาจาง
–ขุนแม่ลาน้อย ให้เลี้ยวซ้ายมุ่งสู่ ตำบลขุนแม่ลาน้อยอีก ๑๕ กิโลเมตร ถึงตำบลขุนแม่ลาน้อย
      จากเมืองแม่ฮ่องสอนผ่านอำเภอขุนยวมเข้าเขตอำเภอแม่ลาน้อย แยกเลี้ยวซ้ายมุ่งสู่ตำบล
บ้านแม่โถเหมือนกัน

                  
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค

     จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 534 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 71.43