![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
![]() |
|
กิจกรรมโครงการจัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพื้นที่สูง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔
ดำเนินการตามกระบวนงานโครงการศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพื้นที่สูง ๘ ขั้นตอน และกระบวนงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว (๒ ต. ๔ ร.) ดังต่อไปนี้
๑ จัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเครือข่าย คลิกฉัน !! · ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ(เตรียมพื้นที่) · วิเคราะห์/ทบทวน/ปรับปรุงข้อมูลชุมชน (รู้ชุมชน) · คัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน ฯ (เตรียมคน) ๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะทำงาน คลิกฉัน !! · จัดเวทีค้นหาแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ ฯ (เตรียมพื้นที่) · กำหนดบทบาทหน้าที่คณะทำงาน (เตรียมคน) · กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของศูนย์เรียนรู้ ฯ (เตรียมพื้นที่) ๓ ศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมร่วมกับชุมชน คลิกฉัน !! · จัดเวทีค้นหาศักยภาพชุมชนและกลั้นกรองปัญหา - ค้นหา สภาพปัญหา สาเหตุ (รู้ปัญหา) - ดัชนีตัวชี้วัดปัญหา (รู้ปัญหา) - กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา (รู้วิธีการ) - กำหนดกิจกรรมโครงการแก้ปัญหาและความต้องการชุมชน (รู้วิธีการ) ๔จัดทำแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย คลิกฉัน !! · ประชุมบูรณาการแผนงาน/งบประมาณร่วมกับ หน่วยงานและภาคเครือข่ายในพื้นที
๕ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามแผน
(รู้วิธีการ)
· ดำเนินกิจกรรม/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาจากเวทีค้นหาศักยภาพชุมชน (รู้งาน) · ทบทวนบทเรียนผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (รู้ติดตาม)
๖ ติดตามประเมินผล/สรุปบทเรียน
· จัดเวทีถอดและสรุปบทเรียนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ (รู้ติดตาม) ๗ จัดเวทีจัดการความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ · ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานขับเคลื่อน ฯ ระดับศูนย์ - ทบทวนบทเรียนของคณะทำงาน ฯ - จัดทำชุดความรู้ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม - ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ขยายผลให้กับพื้นที่อื่น - ประเมินผลและรายงานผล ๘ ประสานการจัดเก็บข้อมูลชุมชนบนพื้นที่สูงที่ตกสำรวจกับ อปท. ในพื้นที่เป้าหมายโครงการ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จำนวน ๑๒ พื้นที่
โครงการจัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพื้นที่สูง ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ************************************* ๑. หลักการและเหตุผล ภาคเหนือของประเทศไทย ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกเหนือจากชาวไทยพื้นเมืองทั่วไป แล้ว ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงก็มีแหล่งอาศัยเป็นชุมชนกระจายอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งประชากรกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีอัตลักษณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประชากรทั่วไป สำนักพัฒนาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จึงได้มีโครงการจัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการในชุมชนบนพื้นที่สูงขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลการส่งเสริมการจัดกิจกรรม การบริการ การประสานงานด้านการพัฒนา การจัดสวัสดิการ และเป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาในชุมชนบนพื้นที่สูง รวมถึงการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในส่วนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากรกลุ่มชาติพันธ์อยู่อาศัยเป็นชุมชนมากมายหลายชุมชนในพื้นที่ ๗ อำเภอ ซึ้งหากดำเนินโครงการจัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการในชุมชนบนพื้นที่สูง จะช่วยให้ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นมีการจัดการทุนทางสังคมและทรัพยากรต่างๆ ทีมีอยู่ในชุมชน ผนวกกับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาคีเครือข่ายให้เป็นสวัสดิการสังคมที่สามารถดูแลคนในชุมชนได้อย่างกลมกลืน ทั่วถึง ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๔๓ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้มีโครงการจัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการในชุมชนบนพื้นที่สูง (นำร่อง) จำนวน ๑ แห่งขึ้น เพื่อนำรูปแบบกระบวนงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวมาดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสังคมในระดับชุมชนบนพื้นที่สูง ตามแนวทางและวัตถุประสงค์ที่สำนักพัฒนาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้กำหนดไว้ต่อไป
๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้เป็นศูนย์ข้อมูลด้านสวัสดิการสังคม ของชุมชน ๒.๒ เพื่อให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมกิจกรรม การประสานงานด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการร่วมกับภาคีเครือข่าย ๒.๓ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชนบนพื้นที่สูง
๓. เป้าหมาย ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพื้นที่สูง ตำบลแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ๑๔๔๗ คน
๔. สถานที่ดำเนินการ ดำเนินการที่บ้านแม่กิ๊ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนกรกฎาคม เดือนกันยายน ๒๕๕๔
๖. วิธีการดำเนินการ ดำเนินการตามกระบวนงานโครงการศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพื้นที่สูง ๘ ขั้นตอน และกระบวนงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว (๒ ต. ๔ ร.) ดังต่อไปนี้ ๖.๑ จัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเครือข่าย
๖.๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะทำงาน
๖.๓ ศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมร่วมกับชุมชน
- ค้นหา สภาพปัญหา สาเหตุ (รู้ปัญหา) - ดัชนีตัวชี้วัดปัญหา (รู้ปัญหา) - กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา (รู้วิธีการ) - กำหนดกิจกรรมโครงการแก้ปัญหาและความต้องการชุมชน (รู้วิธีการ) ๖.๔จัดทำแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย
๖.๕ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามแผน (รู้วิธีการ)
๖.๖ ติดตามประเมินผล/สรุปบทเรียน
๖.๗ จัดเวทีจัดการความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- ทบทวนบทเรียนของคณะทำงาน ฯ - จัดทำชุดความรู้ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม - ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ขยายผลให้กับพื้นที่อื่น - ประเมินผลและรายงานผล ๖.๘ ประสานการจัดเก็บข้อมูลชุมชนบนพื้นที่สูงที่ตกสำรวจกับ อปท. ในพื้นที่เป้าหมายโครงการ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จำนวน ๑๒ พื้นที่
๗. งบประมาณ จากแผนงานสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผลผลิตที่ ๓ ประชากรเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมหลัก การพัฒนาศักยภาพการดำรงชีวิตของประชากรบนพื้นที่สูง กิจกรรมย่อย พัฒนาสังคมบนพื้นที่สูง งบดำเนินงาน ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ตามเอกสารหมายเลข ๒๐๐๐๑๐๔๗๑๖ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๘.ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาและประสานเครือข่าย กลุ่มพัฒนาสังคมและส่งเสริมสวัสดิการสังคม ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๔๓ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๙.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๙.๑ ชุมชนมีศูนย์ข้อมูลด้านสวัสดิการชุมชนและศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ๙.๒ ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเกิดการประสานการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการร่วมกับภาคเครือข่าย
|
|
ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๔๓
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตู้ ปณ. ๑ หมู่ ๔ ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๑๑๐ โทร ๐๕๓ ๖๙๒๙๘๓- ๔ โทรสาร ๐๕๓๖๙๒๙๘๓ |