หน้าหลักกิจกรรมประชาสัมพันธ์จัดซื้อ/จัดจ้างบทความกระดานสนทนาสมุดเยี่ยมแหล่งท่องเที่ยวอีเมลติดต่อเรา
 

หน้าหลักประวัติความเป็นมาวิสัยทัศน์นโยบายโครงสร้างบริหารบุคลากรงานประชาสัมพันธ์ที่ตั้งหน่วยงานศิลปวัฒนธรรมชาวเขาข้อมูลชาวเขา

 


อำเภอเมืองอำเภอขุนยวมอำเภอแม่ลาน้อยอำเภอแม่สะเรียงอำเภอสบเมยอำเภอปางมะผ้าอำเภอปายMHSDCอีเมลสำนักพัฒนาสังคมประสานงานพัฒนาสังคมอำเภอ

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาหน่วยงานอื่นในพื้นที่

บันทึก บก.๐๑

ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 43 จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประวัติความเป็นมาของศูนย์ฯ

เมื่อวันที่  25  กุมภาพันธ์ 2506   อดีตนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

          ได้เดินทางไปตรวจราชการที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้รับรายงานจากอำเภอเรื่องราษฎรซึ่งเป็นชาวเขา   ไม่มีที่ทำกิน พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นโดยจัดสรรที่ดินตามระเบียบของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ให้แก่ชาวเขาเพื่อให้ชาวเขามีที่ทำกินเป็นหลักแหล่งไม่อพยพเคลื่อนย้าย โดยจัดสรรให้บริเวณป่า          บ้านแม่ริดป่าแก่และบ้านแม่ลาย ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ในท้องที่ของอำเภอแม่สะเรียง  เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไข   ปัญหาชาวเขาทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดบัญชาให้กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย (สมัยนั้น) สำรวจสภาพพื้นที่และพิจารณาดำเนินการ

 เมื่อวันที่   19   เมษายน  2506     กรมประชาสงเคราะห์   ได้จัดให้มีการประชุม

           คณะอนุกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา และได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้พิจารณา        เห็นว่าพื้นที่ 10,000 ไร่ ตามที่อำเภอแม่สะเรียงเสนอมานั้น  หลังจากดำเนินการสำรวจแล้วปรากฏว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงชัน     และเป็นป่าสงวนถึงร้อยละ 80 -  90 ซึ่งเมื่อหักพื้นที่ดังกล่าวออกแล้วก็คงเหลือพื้นที่ที่จะจัดให้ชาวเขาได้เพียงไม่กี่ครอบครัว            ที่ที่ประชุมจึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นที่บ้านแม่เหาะ  หมู่ ตำบลแม่เหาะ   อำเภอแม่สะเรียง  แล้วจัด    หน่วยเคลื่อนที่ออกไปพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาตามหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ให้ได้ผลตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป 

         กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  พร้อมทั้งเสนอของบประมาณเพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอนขึ้น ตามมติของคณะอนุกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา เป็นเงินทั้งสิ้น  1,536,690 บาท            (หนึ่งล้านห้าแสนสามหมื่นหก-พันหกร้อยเก้าสิบบาทถ้วน และคณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาขึ้น ตามกระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2507 และมีนายเฉลิ   อัศเวศน์ เป็นหัวหน้าศูนย์คนแรก  โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ และผู้อำนวยการศูนย์ฯ มาถึงปัจจุบันนี้ จำนวน  11 ท่านด้วยกัน

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ / ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

1. นายเฉลิม  อัศเวศน์                            พ.ศ. 2507 - 2513

2. นายสิทธิชัย  สุขสวรรค์                       พ.ศ. 2513 - 2517

3. นายสังวาลย์  อ่อนเผ่า                        พ.ศ. 2517 -  2523

4. นายกมล  อังศุสิงห์                            พ.ศ. 2523 - 2524

5. นายสุรัช  บุนยามิน                            พ.ศ. 2524 - 2528

6. นายโกวิท  ทองอ่อน                          พ.ศ. 2528 - 2531

7. นายพจน์  ผาติพันธุวงศ์                      พ.ศ. 2531 - 2533

8. นายสุวิทย์   ขันธาโรจน์                      พ.ศ. 2533 - 2537

9. นายรังสรรค์   ศรีดาวเรือง                    พ.ศ. 2537 - 2541

10. นายปรีดา   กุณามา                          พ.ศ. 2541 - 2551

11. นายวสันต์  ณ ถลาง                          พ.ศ. 2551 - 2553

12. นายสณฑ์ทรรศน์  ป้อมเย็น                 ตุลาคม 2553 - ตุลาคม 2554

13. นายสมคิด เตชะพะโลกุล                 ตุลาคม 2554 - ปัจจุบัน

 

            * ลำดับที่ 1 - 7     ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ

            * ลำดับที่ 8 - 13   ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฯ  

 

 

ข้อมูลทั่วไป

๑. ก้าวแรกของการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ปี พ . ศ.๒๔๙๕ เป็นปีเริ่มแรกของ “ การดำเนินงานพัฒนาชาวเขา” เป็นการมองเห็นปัญหาโดยหน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งออกไปปฏิบัติภารกิจในบริเวณชายแดน และท้องที่ห่างไกลการคมนาคม และพบว่า ประชาชน หลายกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพความเป็นอยู่อย่างยากไร้ สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดการศึกษา พูดภาษาไทยไม่ได้ เป็นความหลากหลายและความแตกต่างของชาติพันธุ์ที่กระจายตัวอยู่ตามแนวบริเวณชายแดน และบนพื้นที่สูง ห่างไกลและทุรกันดาร ปัญหาของพวกเขาช่วงนั้นถูกมองว่าเป็นปัญหา “ ด้านสวัสดิการ” (Welfare Problem)

รัฐบาลจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง “ คณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม” ขึ้นตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖๕๓/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๙๙ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม โดยให้กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนเฉพาะหน้าในด้านเครื่องอุปโภคและบริโภค โดยยังไม่มีแผนและนโยบายเกี่ยวกับชาวเขาแต่อย่างใด

จากการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในภาคสนาม ซึ่งได้สัมผัสกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้นว่าชาวเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ชอบอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย มีรูปแบบการประกอบอาชีพแบบ ตัด ฟัน โค่น และเผา เพื่อ “ ทำไร่เลื่อนลอย” เมื่อความอุดมสมบูรณ์ดินลดลงก็จะพากันอพยพไปเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่ทำกินที่เหมาะสมในแห่งใหม่เสมอ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ป่า และแหล่งต้นน้ำลำธารจะได้รับผลกระทบโดยตรงประกอบกับชาวเขาแต่ละเผ่าต่างมีรูปแบบ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณี เป็น

เอกลักษณ์เฉพาะเผ่าที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งไม่เหมือนกับวิถีชีวิตของคนไทยโดยทั่วไป และในสมัยนั้น ตัวชาวเขาเองนอกจากจะมีปัญหาทาง ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง แล้วยังมีความเชื่อในอำนาจของสิ่งที่ “ อยู่เหนือธรรมชาติ” มีการ “ ปลูกฝิ่น” เพื่อนำมาใช้เป็นยาและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ และในบางเผ่าก็มีการเสพและค้าฝิ่นด้วย

            ที่สำคัญ คือ ชุมชนชาวเขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ตามแนวบริเวณชายแดน ซึ่งเป็นตะเข็บรอยต่อระหว่างประเทศ สถานการณ์ในขณะนั้น จึงมีความเสี่ยงสูงที่ชาวเขาจะถูกชักนำ และถูกชักจูงให้มีทัศนคติที่ไม่เหมาะสม ต่อความมั่นคงของประเทศได้โดยง่าย รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ. ศ.๒๕๐๒ ทำการปรับปรุงคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม และเปลี่ยนชื่อเป็น “ คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา”

นี่คือ “ จุดเริ่มต้นขององค์กรระดับชาติองค์กรแรก” ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานพัฒนาชาวเขา โดยมอบให้ “ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย” เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน และดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชาวเขากับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี

พ. ศ.๒๕๐๒ เป็นต้นมา

 ๒. นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา

แต่เดิม องค์กรภายใต้การกำกับดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ที่รับผิดชอบ “ งานพัฒนาและ

สงเคราะห์ชาวเขา” คือ “ กองนิคมสร้างตนเอง” โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ “ จัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา” ขึ้น เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๐๒ ในพื้นที่ที่มีชาวเขาอย ู่อย่างหนาแน่น ๔ แห่ง รวมเนื้อที่ทั้ง ๔ แห่ง ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ไร่ ประกอบด้วย.-

ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

ดอยภูลมโล เขตติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย

ดอยม่อนแสนใจ จังหวัดเชียงราย

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมชาวเขาที่อยู่กระจัดกระจายซึ่งยากแก่การพัฒนาและสงเคราห์ชาวเขาได้อย่างทั่วถึง ให้เข้ามาตั้งหลักแหล่ง และประกอบอาชีพเป็นการถาวรในเขต “ นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา” ทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพการเกษตร อุตสาหกรรมในครัวเรือน ด้านการศึกษา การอนามัย ด้านการสังคมสงเคราะห์ ด้านการจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพเป็นต้น

๓. กำเนิดองค์กร “ กองสงเคราะห์ชาวเขา”

ในปี พ . ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลได้จัดตั้ง “ กองสงเคราะห์ชาวเขา” ขึ้นตามนัยแห่งพระรากฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย พ. ศ. ๒๕๐๕ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ. ศ.๒๕๐๕ โดยแยกการบริหารงานออกจากกองนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขามีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การพัฒนาผ่านไปได้ประมาณสองปีกว่าการดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะชาวเขาแต่ละเผ่าต่างมีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และยังคงมีความต้องการที่จะแยกกันอยู่อย่างอิสระ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานกับชาวเขายังขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานกับชาวเขา ซึ่งเป็นกลุ่มชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งอุปสรรคทางด้านภาษา จึงทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวเขาไม่บังเกิดผล

๔. กำเนิด “ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เนื่องจากปัญหาการดำเนินงานดังกล่าว คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา จึงได้มีมติให้จัดตั้ง “ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา” ขึ้นตามลำดับ ดังนี้ ( เอกสาร ๔๐ ปี กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : ตุลาคม ๒๕๔๕ . หน้า ๑๗,๒๑,๒๖)

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก ปี พ. ศ. ๒๕๐๖

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ. ศ. ๒๕๐๗

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงราย ปี พ. ศ. ๒๕๐๗

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ. ศ. ๒๕๐๗

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน ปี พ. ศ. ๒๕๑๐

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี พ. ศ. ๒๕๑๐

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ. ศ. ๒๕๑๒

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร ปี พ. ศ. ๒๕๑๓

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดลำปาง ปี พ. ศ. ๒๕๑๓

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดลำพูน ปี พ. ศ. ๒๕๑๗

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดอุทัยธานี ปี พ. ศ. ๒๕๒๓

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดพะเยา ปี พ. ศ. ๒๕๒๕

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแพร่ ปี พ. ศ. ๒๕๒๖

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดพิษณุโลก ปี พ. ศ. ๒๕๒๘

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอำนวยการจัดส่งให้ “ หน่วยพัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาเคลื่อนที่” ออกปฏิบัติงานตามหมู่บ้านชาวเขา และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ทดลองและส่งเสริมการการเกษตรบนภูเขา การคมนาคมบนภูเขา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชาวเขา โดยให้ “ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาทุกศูนย์” เป็นสำนักงานกลางของ คณะกรรมการชาวเขาส่วนจังหวัด และเป็นแหล่งกลางในการประสานงาน พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ในพื้นที่รับผิดชอบด้วย

๕. นโยบายและวิธีการกำเนินงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ในระยะต่อมา

๑ มติคณะรัฐมนตรี ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ใช้นโยบาย “ การรวมพวก” (Integration Policy ) เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เนื่องจากชาวเขาในประเทศไทยเป็นชนกลุ่มน้อย ที่สามารถปรับตัวเข้ากับคนไทยและผสมผสานอยู่ร่วมกับคนไทยได้โดย “ สันติ” โดยเร่งดำเนินการให้ชาวเขามีความสำนักในความเป็นพลเมืองไทย เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และมีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง โดยให้สิทธิที่จะนับถือศาสนาและปฏิบัติตามธรรมเนียม ประเพณีของตนได้ตามปรารถนา มีวัตถุประสงค์ “ เพื่อให้ชาวเขาเป็นพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้” ด้วยการเร่งรัดจัดทำทะเบียนชาวเขา ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพิจารณาลงสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านแก่ชาวเขา พ.ศ.๒๕๑๗ และดำเนินการลดอัตราการเพิ่มประชากรชาวเขา โดยเร่งวางแผนครอบครัวให้ได้ผลแพร่หลาย รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการชาวเขาเพื่อรับผิดชอบในนโยบายเกี่ยวกับชาวเขาในทุกกรณี

การดำเนินการ

โดยกำหนดเขตพื้นที่พัฒนา ( DEVELOPMANT ZONES ) ให้แน่นอน จำนวนปีละ ๒๐ เขต เพื่อดำเนินการพัฒนาในรูปโครงการสมบูรณ์แบบ โดยให้กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย (ในสมัยนั้น) เป็น “ เป็นหน่วยงานหลัก” ในการดำเนินงานในเขตพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งร่วมมือและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาในรูปแบบโครงการสมบูรณ์แบบ หมายถึง การกำหนดให้ชาวเขารวมกันเป็นกลุ่ม อยู่และประกอบอาชีพในเขตพื้นที่ ( Zones ) ที่กำหนดให้ โดยการพัฒนาอาชีพ การศึกษา อนามัย และการวางแผนครอบครัว การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นหน่วยผลิตในทางเศรษฐกิจของประเทศ และบริการสังคมแก่ชาวเขา รวมทั้งควบคุมการอพยพเคลื่อนย้ายเข้า-ออกในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณอื่น ด้วยการทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นได้อย่างอิสระ ตลอดจนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศได้อย่างใกล้ชิด

 

. มติคณะรัฐมนตรี ๗ ธันวาคม ๒๕๒๕ ใช้นโยบายการดำเนินงานแก้ไขปัญหาชาวเขาและการปลูกฝิ่น กำหนดเป็น ๓ ด้าน ประกอบด้วย

.๑ ด้านการปกครอง โดยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและความผูกพันทางจิตใจต่อสังคมไทย

และให้ดำรงชีวิตอยู่โดยเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง และกำหนดพื้นที่ที่พิจารณาอย่างเหมาะสมในทุกด้านให้ชาวเขาได้อาศัยและทำกินเป็นหลักแหล่ง จัดระเบียบความเป็นอยู่และเร่งรัดสำรวจจำนวนชาวเขาที่แน่นอน รวมทั้งสกัดกั้นและผลักดันการอพยพเข้ามาใหม่ของชาวเขา โดยกำหนดมาตรการลงโทษสำหรับผู้อพยพเข้ามาใหม่ และผู้ชักจูงชาวเขาเข้ามา

.๒ ด้านการเลิกปลูกและเสพฝิ่นติด โดยการลดการปลูกและเสพฝิ่นติดเป็นลำดับจนกว่าจะเลิก

ไปในที่สุด ลดการเข้ามามีอิทธิพลของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งชนกลุ่มน้อย และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และแสวงหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

.๓ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการปรับปรุงให้ชาวเขามีรายได้จากอาชีพอื่นที่

เพียงพอแก่การยังชีพ และให้การปรับปรุงเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยพื้นราบที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงตามความเหมาะสมด้วย กระจายบริการสาธารณสุขพื้นฐาน ดำเนินการวางแผนครอบครัวชาวเขา และควบคุมการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ประชาสัมพันธ์และปฏิบัติการจิตวิทยาต่อชาวไทยและชาวเขาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการช่วยเหลือของทางราชการ รวมทั้งพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ตามสภาพปัญหาในพื้นที่ตามแผนงานและโครงการที่จัดทำขึ้น

.มติคณะรัฐมนตรี ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ใช้นโยบายการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด ประกอบด้วย

หลักการทั่วไป เพื่อให้ชาวเขาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย ราษฎรไทยและกลุ่มชนอื่นที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มีความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับที่เพียงพอแก่ความจำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ระบบการปกครองและการพัฒนาปกติต่อไป โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตามนโยบาย ๕ ปี

วัตถุประสงค์

๑ ด้านการเมือง การปกครอง

.๑ ให้กลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินถาวร ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อพยพเคลื่อนย้ายอีกต่อไป พ้นจากภัยคุกคามของกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ และได้รับการจัดระเบียบการปกครองชุมชนเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

.๒ ให้ชาวเขาอยู่ร่วมในสังคมไทย โดยไม่สร้างปัญหาและก่อภาระทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีความสำนึกในความเป็นไทย ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และทำประโยชน์แก่สังคมตามความเหมาะสม

.๓ ให้มีการสกัดกั้นและผลักดันชาวเขาที่อพยพเข้ามาใหม่จากนอกประเทศโดยเด็ดขาด

นโยบายและวิธีการกำเนินงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ในระยะต่อมา (ต่อ)

. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ก. การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิต

. ให้ชาวเขาได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เพียงพอแก่ความ จำเป็นในการดำรงชีวิตและพึ่งตนเองได้ในที่สุด

. ให้อัตราการเพิ่มประชากรชาวเขาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราการเพิ่มของประชากรพื้นราบ และสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่รองรับ

ข. การเลิกปลูกและเสพฝิ่นติด ให้ชาวเขาที่ปลูกหรือเสพพืชเสพติด ลดการปลูกหรือเสพจนเลิกปลูกหรือเสพพืชเสพติดไปในที่สุด

. ด้านการอนุรักษ์ การใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีระบบการอนุรักษ์ การใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม และเอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

๖. นโยบาย

. ด้านการเมืองการปกครอง

.๑ ให้มีการเร่งรัดสำรวจจำนวน แยกประเภท จัดทำทะเบียน และออกบัตรประจำตัวแก่ชาวเขา และพิจารณาลงสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านแก่ชาวเขาที่เป็นคนไทย ตามระเบียบของทางราชการและขั้นตอนที่เหมาะสม สำหรับชาวเขาที่มิได้รับการลงสัญชาติไทย ให้

กำหนดสถานะบุคคลไว้ให้ชัดเจนตามกฎหมายและเงื่อนไขของทางราชการ

.๒ จัดระเบียบการปกครองชุมชนชาวเขาเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามสภาพความพร้อมของชุมชนชาวเขา และขั้นตอนที่เหมาะสม สำหรับชุมชนชาวเขาที่ยังไม่สามารถจัดระเบียบการปกครองตามกฎหมายได้ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าไปสัมผัสและจัดระเบียบชุมชนตามความเหมาะสม เพื่อเตรียมการเข้าสู่การจัดระเบียบการปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

.๓ กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมให้ชาวเขาอยู่อาศัยและทำกินถาวรตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ ความเหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับบางพื้นที่ที่ชาวเขาอยู่อาศัยและทำกินอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถอนุญาตให้อยู่อาศัยต่อไปได้ ให้ทำการอพยพออกโดยกำหนดพื้นที่รองรับที่เหมาะสม

.๔ บังคับใช้กฎหมายและระเบียบของทางราชการให้บังเกิดผลในทุกพื้นที่ โดยมีการลงโทษอย่างจริงจัง และมีการจูงใจและการกดดันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ชาวเขาและประชากรกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ปฏิบัติตามกฎหมาย

.๕ สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความผูกพันทางด้านจิตใจของชาวเขาต่อสังคมไทย และให้ชาวเขาเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ในฐานะพลเมืองไทย เคารพกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ โดยการกำหนดมาตรการการดำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติการจิตวิทยาอย่างเหมาะสม

.๖ กำหนดมาตรการสกัดกั้นการอพยพเข้ามาใหม่ของชาวเขาจากนอกประเทศและดำเนินการผลักดันชาวเขาที่อพยพเข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอนของกฎหมายและความเหมาะสมและให้มีมาตรการกดดันที่เหมาะสมแก่ผู้ชักจูง ให้ที่พักพิงหรืออำนวยความสะดวกแก่ชาวเขาที่อพยพเข้ามาจากนอกประเทศ

.๗ ลดและขจัดอิทธิพลของชนกลุ่มน้อย และ พคท. ในหมู่ชาวเขาโดยปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการให้ความคุ้มครองปลอดภัยแก่ชาวเขา และการส่งเสริมให้ชาวเขาพึ่งตนเองและป้องกันตนเองได้ระดับหนึ่ง

. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ก. การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิต

.๑ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาวเขา โดยเน้นหนักการพึ่งตนเอง ความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการให้ชาวเขาตั้งถิ่นฐานถาวรไม่อพยพเคลื่อนย้าย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดในเรื่องจำนวนที่ดิน และขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง ตลอดจนการเพิ่มของจำนวนประชากรชาวเขาในอนาคต

.๒ จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริม พัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองในที่สุด เพิ่มรายได้ชาวเขาด้วยการพัฒนาการผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาทางด้านการตลาด และการส่งเสริมอาชีพอื่นนอกภาคเกษตรกรรม รวมทั้งการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือชาวเขา

.๓ กระจายบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมชุมชนชาวเขามากที่สุด พัฒนากลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน และส่งเสริมและสนับสนุนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

.๔ เร่งรัดการวางแผนครอบครัวให้บังเกิดผล เพื่อควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรชาวเขา ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราการเพิ่มของชุมชนพื้นราบ และสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่ร้องรอบ

.๕ จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการสื่อสาร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเมือง การปกครอง และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

.๖ ส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนาพุทธในหมู่ชาวเขา เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ควบคุมดูแลการเผยแพร่ศาสนาในหมู่ชาวเขามิให้สร้างความแตกแยกในสังคมและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

ข. การเลิกปลูกและเสพฝิ่นติด

. ประชาสัมพันธ์และปฏิบัติการจิตวิทยา ให้ชาวเขาเข้าถึงพิษภัยของพืชเสพติด และจูงใจให้เลิกปลูกและเสพพืชเสพติด

. ให้มีการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในชุมชนชาวเขาที่พัฒนาและได้รับการจัดตั้งตามกฎหมายแล้ว

. แสวงกาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญญาชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด และพิจารณาให้ความช่วยเหลือนั้นเกื้อกูลแก่คนไทยด้วยตามความเหมาะสม

. ด้านการอนุรักษ์ การใช้และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

.๑ จัดให้มีแผนการใช้ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์ และการพัฒนาทรัพยากรบนพื้นที่สูง และกำหนดให้มีมาตรการควบคุม ดูแลการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามแผนโดยเคร่งครัด

.๒ ให้มีการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบของทางราชการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง

. ด้านองค์กรบริหาร

ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ได้กำหนดองค์กรในการบริหารแผนแม่บท เพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูงออกเป็น ๔ ระดับ คือ

.๑ องค์กรระดับชาติ

. คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

. คณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

. คณะอนุกรรมการพิจารณาแผนและงบประมาณในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

.คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด

.๒ องค์กรระดับภาค ให้มีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขาและกำจัดการปลูกพืชเสพติด กองทัพภาคที่ ๓

.๓ องค์กรระดับจังหวัด ให้มีคณะกรรมการชาวเขาจังหวัด

.๔ องค์กรระดับอำเภอ ให้มีคณะทำงานชาวเขาอำเภอ

๗. เหตุผลความจำเป็นที่ต้องให้การดูแลกลุ่มเป้าหมาย ( ชาวเขา)

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

คำว่า “ ชาวเขา” หมายถึง กลุ่มชนชาติส่วนน้อยที่อาศัยถาวรอยู่ในพื้นที่สูง และทุรกันดารของภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย มีภาษาค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมแตกต่างจากชาวไทยพื้นราบ

คำว่า “ ชาติพันธุ์” หมายถึง การสืบทอดทางสายโลหิต เชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อ วิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปใช้คำว่า “ เผ่า” เพื่อแยกกลุ่มชนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนออกจากกัน

“ ชาวเขา” ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร์ให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ. ศ.๒๕๔๓ ใช้คำว่า “ ชาวไทยภูเขา” หมายความว่า กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยทำกินหรือบรรพชนอาศัยทำกินอยู่บนพื้นที่สูงในราชอาณาจักร ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษา และการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวประกอบด้วย ๙ ชาติพันธุ์หลัก คือ กะเหรี่ยง หรือปกาญอ โพล่ง ตองสู้ บะแก ม้ง หรือแม้ว เมี่ยน หรือเย้า อาข่า หรืออีก้อ ? ลาหู่ หรือมูเซอ ลีซู หรือลีซอ ลัวะ หรือถิ่น ขมุ มลาบรี หรือคนตองเหลือง ( เอกสารทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ๒๐ จังหวัด ในประเทศไทย พ. ศ. ๒๕๔๕ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หน้า ๔-)

พระยาอนุมาณราชธน ได้กล่าวถึงชาวเขาว่า “ ชาวเขาเป็นส่วนหนึ่งของประชากรไทยก็ว่าได้ ในการปกครองนั้นทางราชการมิได้ถือว่าชาวเขาเป็นคนต่างด้าว แต่นับเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศไทย” ( เอกสาร ๔๐ ปี กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ ,๒๕๔๕. หน้า ๑๐)

“ ชนกลุ่มน้อย” หมายถึง กลุ่มชนชาติส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทยในลักษณะชั่วคราว มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ระหว่างประเทศไทย สหภาพเมียนม่าร์ และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ กลุ่มชาติจีนฮ่อ ไทยใหญ่ ปะหล่อง เป็นต้น ( เอกสารทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ๒๐ จังหวัดในประเทศไทย พ. ศ. ๒๕๔๕ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. หน้า ๕)

พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๐ มกราคม ๒๕๑๗

“ เรื่องที่จะช่วยชาวเขา และโครงการชาวเขา นั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง จุดประสงค์อย่างหนึ่ง คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร สามารถมีความรู้และพยุงตัว ให้มีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่า ควรจะช่วยเพราะ เป็นปัญหาใหญ่ คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่ง ”

“ อีกอย่าง คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเรา สู่หายนะได้ ที่ถางป่าและ ปลูกโดยวิธีไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมือง ให้มีความดี อยู่ดี กินดีและปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ ถ้าสามารถทำโครงการนี้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง และสนับสนุนนโยบายจะรักษาป่า รักษาดิน ให้เป็นประโยชน์ต่อไปและยั่งยืนมาก ”

วัตถุประสงค์ของการดูแลกลุ่มเป้าหมาย “ คนไทยต่างวัฒนธรรม”

. เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชาวเขา และสำรวจข้อมูล จุดที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขา รวมทั้งให้การรักษาพยาบาล และให้คำแนะนำในด้านการเกษตรแก่ชาวเขา

. เพื่อโน้มน้าวให้ชาวเขามีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความรักและหวงแหนแผ่นดิน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของชายแดน

. เพื่อความมั่นคงของชาติ โดยการส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกพืชทดแทนฝิ่น เช่น ชา กาแฟ เป็นต้น และเลิกการตัดไม้ทำลายป่า และแหล่งต้นน้ำลำธาร

. เพื่อให้ชาวเขาเป็นพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

. เพื่อเร่งรัดการจัดทำทะเบียน การลงรายการสถานะบุคคล และลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านให้กับชาวเขา

. เพื่อให้ชาวเขาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย ราษฎรไทยและกลุ่มชนอื่นที่อยู่บนพื้นที่สูงมีความเป็นอยู่อย่างเป็นระเบียบ ได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในระดับที่เพียงพอแก่ความจำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการปกครอง และพัฒนาตามปกติต่อไป

. เพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ตามมติคณะรัฐมนตรี

. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคม และการจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง รวมทั้งการพัฒนาจิตใจ และส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาบนพื้นทีสูง รวมทั้งพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ในภารกิจที่หน่วยปกติไม่สามารถดูแลได้ ตามนโยบายรัฐบาล

. เพื่อการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ตามบันทึก ลับมาก ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สปช. ที่ นธ ๐๘๐๓/๑๙๔๔ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ ตามมาตรการระบบเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ติดตามข้อมูล ให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสังคม ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ศาสนาบนพื้นที่สูงอย่างใกล้ชิด ด้วยการบูรณาการ การดำเนินงาน ระหว่างหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ อย่างมีเอกภาพ

๑๐. เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ. ศ.๒๕๔๖ มีผลบังคับใช้ในปี พ. ศ.๒๕๔๗ จึงต้องประสานและบูรณาการงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในทุกกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น

๑๑. การสนับสนุนให้ภาคีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้มากขึ้นโดย

-เน้นการมีส่วนร่วมของประชาสังคม ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงการคุ้มครองทางสังคม เพื่อการสร้างหลักประกันความมั่นคง ในการดำรงชีวิต ให้แก่คนจนและผู้ด้อยโอกาส  

-การดำเนินในระยะต่อไป ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย “ จดทะเบียน ปัญหาสังคมและความยากจน” เป็นอันดับแรก

-การวางระบบ “โครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม”ในระดับหมู่ ชุมชน ตำบล อำเภอ/ กิ่งอำเภอ และจังหวัดที่ชัดเจน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคมทั่วไป

๑๒. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นจัดสวัสดิการสังคม เพื่อให้ประชาชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายทางสังคมสามารถดำรงชีวิตและพึ่งตนเองได้

๑๓. เพื่อให้เป็นไปตาม “กิจกรรมหลัก” การพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูงเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง และเพื่อให้ชุมชนบนพื้นที่สูงมีความพร้อมเข้าสู่ระบบการพัฒนาปกติ ตามนโยบายของรัฐบาล ของกลุ่มประสานการจัดสวัสดิการแก่ชุมชนบนพื้นที่สูง ดังนี้.-

) การส่งหน่วยเคลื่อนที่ไปในชุมชนบนพื้นที่สูงที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดำเนินการ

) การอบรมเยาวชนให้มีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เป็นแกนนำในการพัฒนาสังคม

) การสนับสนุนการเผยแพร่ศาสนาพุทธ รวมทั้งดูแลการเผยแพร่ศาสนาและลัทธิต่าง ๆ เพื่อมิให้สร้างความแตกแยกในสังคม และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

) การขยายการศึกษาให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระบบปกติ

การพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูง

. การพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูง ในพื้นที่การพัฒนาปกติ คือ ชุมชนที่เป็นหมู่บ้านตาม พ. ร. บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ. ศ.๒๔๕๗ โดยเน้นการดำเนินการจัดสวัสดิการสังคมเป็นหลัก และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และ

. การพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูง เพื่อความมั่นคง คือ ชุมชนที่ยังไม่เป็นหมู่บ้านตาม พ. ร. บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ. ศ.๒๔๕๗ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของคน การพัฒนาพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล

๘. กว่าจะเป็นศูนย์พัฒนาสังคม

แนวคิดการปรับเปลี่ยนบทบาทของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และนิคมสร้างตนเอง ให้เป็น “ ศูนย์พัฒนาสังคมในระดับจังหวัด และอำเภอ” จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม ที่เป็นรูปธรรมตามความมุ่งหวังของรัฐบาล ที่ต้องการก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ระดับรากหญ้า จนถึงระดับสังคมทุกชนชั้น โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสังคม รวมทั้งการให้บริการทางสังคมที่จะให้แก่ “ กลุ่มเป้าหมาย” อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มี “ ศูนย์พัฒนาสังคม” ขึ้น โดยมอบหมายบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน “ ศูนย์พัฒนาสังคม” ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จำนวน ๑๔ แห่ง และนิคมสร้างตนเอง จำนวน ๔๓ แห่ง รวม ๗๕ แห่ง มารับผิดชอบเป็น “ วิทยากรกระบวนการ” ในการกระตุ้น ประสาน และเอื้อให้มีการรวมตัวของ “ สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย” เป็นกลุ่ม โดยให้กลุ่มต่าง ๆ มีการคัดเลือก “ คณะกรรมการ” ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ภายใต้กฎเกณฑ์ของกลุ่มร่วมกัน แล้วจึงดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ก็จะกลายเป็น “ กองทุน” ของกลุ่มต่อไป ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่ “ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ กลุ่มผู้ยากไร้ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น จะเป็นเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีกระบวนการ “ สำมะโนปัญหา และนำเสนอปัญหาทางสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม เข้าสู่เวทีประชาคมของหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ” และผลักดันให้เกิดแผนด้านสวัสดิการสังคมในระดับตำบล ต่อไป

“ ศูนย์พัฒนาสังคม” จะทำหน้าที่นำส่งกิจกรรมการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่และมีการจัดทำแผนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาให้กับบุคคลกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมคาราวานเสริมสร้างเด็ก การรวมกลุ่มเพื่อฝึกอาชีพและประกอบอาชีพ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนเป็นสุข ฯลฯ ในระดับชุมชนซึ่งจะต้องมีการบูรณาการทุนทางสังคมที่มีอยู่ ได้แก่ วัด ,บ้าน,โรงเรียน หรือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน รวมทั้งมีหน้าที่ประสานหน่วยงานภายในกรม กระทรวง จังหวัด CEO และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการเติมเต็มกิจกรรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

 

********************************

 

ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๔๓ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
social development unit 43 maehongson province

    ตู้ ปณ. ๑ หมู่ ๔ ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๑๑๐

โทร ๐๕๓ ๖๙๒๙๘๓- ๔ โทรสาร ๐๕๓๖๙๒๙๘๓

อีเมล : maehoahill@hotmail.com admins@mhsdc.org