Home  :: ยุทธฯ ที่ ๑ ข้อมูลสารสนเทศ   :: ยุทธฯ ที่ ๒ การจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง  :: ยุทธฯ ที่ ๓ การจัดทำศูนย์การเรียนรู้
>> ตำบลแม่เหาะ
>>กลับหน้าหลัก<<

>>ตำบลแม่เหาะ
ประวัติความเป็นมา
       ตำบลแม่เหาะแต่เดิมเป็นหมู่ที่ 12 ของตำบลแม่สะเรียง ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณตำบล แม่เหาะ เป็นป่าเขา อยู่ห่างไกลกันดาร ไม่มีเส้นทางการคมนาคม การติดต่อ ระหว่างอำเภอ แม่สะเรียง กับบ้านแม่เหาะต้องอาศัยเดินทางเท้าผ่านห้วยเขาลำเนาไพร เป็นระยะทางประมาณ
20 กิโลเมตร ใช้เวลาดินทางเป็นวัน ๆ กว่าจะถึงที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง
        ในปี พ.ศ. 2517 กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพื้นที่บ้าน แม่เหาะกว้างขวางมีหมู่บ้านบริวารจำนวนมากประกอบกับทางหน่วยงานราชการ ได้เข้าไปส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับราษฎรชาวเขาอยู่อย่างเป็นสุข ไม่ทำลายป่ามีความสำนึก ในการ เป็นไทย มีความรัก เทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงได้แบ่งพื้นที่การปกครองเดิม ของหมู่ที่ 12 ตำบลแม่สะเรียง ออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่ เรียกชื่อว่า “ ตำบลแม่เหาะ ”
แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
     หมู่ที่ 1 บ้านแม่ริดป่าแก่ และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลิดหลวง และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 3 บ้านแม่สวรรค์หลวง และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 4 บ้านแม่เหาะ และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 5 บ้านแม่จ๊าง
     หมู่ที่ 6 บ้านดงกู่
     หมู่ที่ 7 บ้านดงหลวง และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 8 บ้านห้วยปลากั้ง และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 9 บ้านห้วยปู และหย่อมบ้านบริวาร
     หมู่ที่ 10 บ้านแม่เหาะใต้ และหย่อมบ้านบริวาร
ต่อมาได้จัดตั้งหย่อมบ้านขุนวงซึ่งเป็นหย่อมบ้านของหมู่ที่ 8 บ้านห้วยปลากั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านหลัก เป็น หมู่ที่ 11 บ้านขุนวง และหย่อมบ้านบริวารเมื่อประชากรมีจำนวนมากขึ้น และได้รับการศึกษา เริ่มมีความรู้ ความเข้าใจในการปกครองหมู่บ้านของตน โดยเฉพาะหย่อมบ้านแม่เหาะ จำนวน    2 หย่อมบ้าน ขอตั้งหย่อมบ้านขึ้นมาเป็นหมู่บ้านหลักปกครองตนเอง จึงมีจำนวนหมู่บ้านเพิ่มขึ้น มาอีก 2 หมู่บ้านในเวลาต่อมา คือ หมู่ที่ 12 บ้านแม่สวรรค์น้อย หมู่ที่ 13 บ้านแม่กะไนหลังจากที่ ตั้งตำบลแม่เหาะมีนายสุวัจน์ น่วมบุญลือ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมูที่ 4 และเป็นกำนันคนแรก ของตำบลแม่เหาะ

สภาพทั่วไปของตำบลแม่เหาะ

พื้นที่ตำบลแม่เหาะมีเนื้อที่ประมาณ 284.8 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบระหว่างภูเขาไว้สำหรับเพาะปลูกและใช้เป็นที่อยู่อาศัย

อาณาเขตตำบล

     ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
     ทิศใต้ ติดกับ ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
     ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลป่าโปง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
     ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลแม่สะเรียงอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

จำนวนประชากรของตำบล

     จำนวนประชากรในเขต อบต. 8,103 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,157 หลังคาเรือน

ข้อมูลอาชีพของตำบล

     อาชีพหลัก คือ เกษตรกร รับจ้างและทำงานอื่นๆ ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลแม่เหาะเป็น ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง 80% นอกนั้นเป็นชาวพื้นเมืองและ ม้ง นับถือศาสนาคริสต์ พุทธและนับถือผี การดำรงชีพในสมัยก่อนเป็นการดำรงชีพแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนทำไร่เป็นอาชีพหลักแต่ละไร่นั้น จะปลูกข้าว พริก ฟักทอง เผือก แตงกวา ผักกาด ข้าวโพดฯลฯ โดยจะเริ่มทำไร่ตั้งแต่ ปลายเดือนกุมภาพันธ์และเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวใน เดือนพฤศจิกายน ในช่วงเวลาที่เหลือก็จะ จัดการด้านที่อยู่อาศัย ทอผ้า จักสานเครื่องมือใช้สอยในครอบครัวและหาของป่าต่างๆ นอกจาก การทำไร่แล้ว อาชีพที่ทำรายได้ให้กับประชากรบ้านแม่เหาะ คือ ทำสวนกะหล่ำปลี

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล

     ทุ่งบัวตอง ดอยสิงห์ น้ำตกแม่สวรรค์น้อย ถ้ำลอด ศูนย์วัฒนธรรม

ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล แม่เหาะ : ที่อยู่ : 130/4 หมู่ 4 ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58110

เส้นทางการคมนาคมการเดินทางเข้าสู่ตำบล
:      เส้นทางเข้าสู่ตำบลแม่เหาะใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 108

สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค

      จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 468 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 15 หลังคาเรือน

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของตำบล    

     ธรรมชาติทุ่งบัวตอง ทุ่งบัวตองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ ของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ของทุก ๆ ปี และมีนักท่องเที่ยว นิยมมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก

ร้านอาหารในตำบล/ใกล้เคียง

     ร้านกาแฟสดรสแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำหน่ายกาแฟสดทั้งร้อน และเย็น

การศึกษา

     โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 15 แห่ง
     โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 3 แห่ง
     ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง
     ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง จำนวน 9 แห่ง

ศาสนา 
     ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง และม้งบางส่วน นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 70 รองลงมาคือ ศาสนาพุทธ ยังคงเชื่อถือเรื่องผี  นับถือผี สำนักสงฆ์ จำนวน 5 แห่ง คือ หมู่ที่ 1, 3, 4, 11, 13 โบสถ์ จำนวน 5 แห่ง คือ หมู่ที่ 2, 3, 4, 7, 9, 13

การสาธารณสุข

     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง คือ บ.แม่เหาะเหนือ และ บ.แม่ริดป่าแก่ สถานบริการสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 1 แห่ง คือ บ.ห้วยปลากั้ง และ บ.แม่สวรรค์หลวง อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 50

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     ตู้ยามตำรวจ จำนวน 1 แห่ง