ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
ประวัติความเป็นมา
ในปี พ.ศ.
2513
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเสด็จเยี่ยมบ้านห้วยห้อมและบ้านป่าแป๋
เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2522
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมบ้านดงอีกครั้ง
แล้วทรงรับสั่งกับหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ให้ช่วยพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
ดังนั้นจึงได้ก่อหลวงเคยเสด็จมาก่อน
และเป็นศูนย์กลางโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่สมเด็จย่าทรงก่อตั้งขึ้น พ.ศ.
2516)
ในนามโรงเรียนสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราช
1.
สภาพโดยทั่วไป
1)
ขนาดและที่ตั้ง
: ตั้งอยู่ที่บ้านดง หมู่ที่ 5
ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน คือ
บ้านห้วยห้อม, บ้านห้วยห้า,
บ้านดง, บ้านละอูบ, (หมู่ที่
1, 2, 5, 6 ตำบลห้วยห้อม)
และบ้านแม่สะกึ๊ด, บ้านห้วยผึ้ง, (หมู่ที่
1, 2 ตำบลท่าผาปุ้ม)
มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 44.72 ตารางกิโลเมตรหรือ
27,951.54 ไร่
2)
ลักษณะภูมิอากาศประกาศ
: พื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์ฯ
แม่ลาน้อยมรลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง มีลำน้ำสายสำคัญ
ได้แก่ลำน้ำแม่ลาน้อยซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ
900-1,100 เมตร
3)
ลักษณะภูมิอากาศ
: อุณหภูมิสูงสุด 34 องศาเซลเซียส
ในช่วงเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุด 4
องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 19
องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,400
มิลลิเมตร/ปี
ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนมิถุนายน
เดือนตุลาคม
4)
การคมนาคม
: ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 250
กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5
ชั่วโมง โดยใช้เส้นทางสาย 108 ผ่านอำเภอฮอด
อำเภอแม่สะเรียง
แล้วเลี้ยวขวาขึ้นดอยตรงข้ามที่ทำการไปรษณีย์ อีก 30
กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยางเกือบทั้งหมด
มีถนนลูกรังเพียง 13
กิโลเมตรเท่านั้น
2.สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
1)
ประชากร
: มีชนเผ่า ได้แก่ เผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าลั๊วะจำนวน
906 หลังคาเรือน 1,097 ครอบครัว
ชาย 2,358 คน หญิง 2,197 คน
รวม 4,555 คน
(แหล่งข้อมูล ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2548)
2)
การศึกษา
: ราษฎรส่วนใหญ่ร้อยละ 89
จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่เหลือจบระดับ มัธยมศึกษาร้อยละ 10
และจบระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 1 โดยมีโรงเรียนจำนวน 6 โรง
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
3)
การประกอบอาชีพ
: อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม ร้อยละ 85
อาชีพรองคือรับจ้างร้อยละ 10และค้าขาย ร้อยละ 5 มีรายได้เฉลี่ยประมาณ
15,000 บาท/ครัวเรือน/ปี
4)
การรวมกลุ่มของเกษตรกร
:
มีการวมกลุ่มต่างๆตามธรรมชาติทั้ง 6 หมู่บ้าน ได้แก่
กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยห้า ห้วยห้อม ละอุบ กลุ่มเยาวชนบ้านดง
กลุ่มทำเรื่องเงิน กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านห้วยผึ้ง
กลุ่มผู้ปลูกกาแฟและกลุ่มสตรีทอผ้าขนแกะ
5)
ผลผลิตทางการเกษตร
:
5.1พืชผัก
ได้แก้ กะหล่ำปลีแดง กะหล่ำปลีเขียวและฟักทองญี่ปุ่น พื้นที่รวม 63 ไร่
เกษตรกร 50 ราย
5.2ไม้ผล
ได้แก่ อะโวคาโด พลัม พลับ เสาวรสหวานและเสาวรสโรงงาน พื้นที่รวม 169 ไร่
เกษตร 142 ราย
5.3 พืชไร่
ได้แก่ ถั่วแดงหลวง พื้นที่รวม 50 ไร่ เกษตรกร 18 ราย
5.4
ส่งเสริมปลูกกาแฟอราบิก้า พื้นที่ 241 ไร่ เกษตรกร 165 ราย
(แหล่งข้อมูล รายงานประจำปี 2546 ฝ่ายพัฒนามูลนิธิโครงการหลวง)
6)
แหล่งท่องเที่ยว
-แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร ได้แก่ ชมนาบันได
แปลงปลูกกาแฟบ้านห้วยห้อมและปลูกเสาวรสรับประทานสด
-แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตกนทีราชันย์
น้ำตกทีเลอเล ก้อนหินเลี้ยงผาและทะเลหมอก
-แหล่งท่องเที่ยวศึกษาวัฒนาธรรม ได้แก่
กลุ่มตีเครื่องเงินบ้านละอูบ กลุ่มทอผ้าขนแกะบ้านห้วยห้อม พิพิธภัณฑ์บ้านลัวะ
โบราณสถานาตุธัมิกราชสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนา
7) โครงสร้างพื้นฐาน
-
ระบบไฟฟ้า : จำนวน
4 แห่ง
-
น้ำประปา : จำนวน
6 แห่ง
-
สถานีอนามัย : จำนวน 2
แห่ง
-
โบสถ์ : จำนวน
5 แห่ง
- วัด
: จำนวน 5
แห่ง
-
โทรศัพท์สาธารณะ : จำนวน 5
แห่ง
-
ร้านค้า : จำนวน
17 แห่ง
-
โรงเรียน : จำนวน
6 แห่ง
-
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : จำนวน 3
แห่ง
ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้อำนวยการ
นายราเชนทร์ อารีย์
สังกัด กรมพัฒนาและสวัสดิ์การ
เลขานุการคณะทำงานศูนย์ฯ
นายวิชัย ปัตถมสิงหไชย สังกัด สำนักงานเกษตรที่สูง
หัวหน้าศูนย์ฯ
นายพรชัย อุตะมะ สังกัด
มูลนิธิโครงการโครงหลวง
แหล่งข้อมูล :
ข้อมูลศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง