ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง
ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับศูนย์ฯแม่ลาน้อย
และได้แยกออกมาตั้งเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง เมื่อปี พ.ศ.
2536 เพราะพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ฯ
แม่ลาน้อยอยู่ห่างไกลกว่าและกว้างขวางมารก อยู่ในเขต 2
อำเภอ คือ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง
ส่วนของอำเภอแม่สะเรียงจึงได้แยกออกมาเป็นศูนย์ฯแม่สะเรียง
เริ่มแรกมีหมู่บ้านรับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน (12
กลุ่มบ้าน) ราษฎร 397
ครอบครัว เป็นชาวเขาเผ่าละว้าและเผ่ากะเหรี่ยง
1.
สภาพทั่วไป
1.1
ขนาดและที่ตั้ง
ตั้งอยู่บ้านอมพาย หมู่ที่ 11 ต.
ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.
แม่ฮ่องสอน มีพื้นที่เขตรับผิดชอบ 90.93
ตารางกิโลเมตร หรือ 50,581.5 ไร่
พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ครอบคลุม 12
กลุ่มบ้าน 632 ครอบครัว 2,775
เป็นชาวเขาเผ่าลั๊วะ และกะเหรี่ยง
1.2
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่มีลักษณะเป็นหุบเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบระหว่างหุบเขาเพียงเล็กน้อย
พื้นที่มีความลาดชันสูง เป็นแหล่งต้นน้ำ มีลำห้วยขนาดเล็กไหลผ่านพื้นที่
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 800-1,000
เมตร
1.3
ลักษณะดิน
เป็นดินร่วนเหนียว และเหนียวปนทราย
มีดินลูกรังเป็นบางพื้นที่ มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.5
พื้นที่มีความลาดชันสูง
มีเศษหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามพื้นที่ลาดชัน
1.4
ลักษณะภูมิอากาศ
-
อุณหภูมิสูง ประมาณ
34
องศาเซลเซียส
-
อุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ
4
องศาเซลเซียส
-
อุณหภูมิเฉลี่ย
22
องศาเซลเซียส
-
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย
1,383
มิลลิเมตร/ปี
1.5
การคมนาคม
ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงศูนย์ฯ ประมาณ
180
กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ
3.30
ชั่วโมง เส้นทางสายเชียงใหม่
แม่สะเรียง เป็นถนนลาดยางสายหลักและแยกจากสายหลักไปยังศูนย์ฯ เป็นถนนลาดยาง
19 กิโลเมตร และถนนลูกรังประมาณ 16
กิโลเมตร รวมประมาณ 35
กิโลเมตร
1.6
โครงสร้างพื้นฐาน
หมู่บ้านส่วนมากยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง
และเส้นทางลำลอง ไม่สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะฤดูฝน
1.7
แหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่
7
แห่งใช้ในการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรคือ
ลำห้วย
กล้อโก๊ละ ห้วยแกลหมื่อโก๊ละ ห้วยสหย่าโก๊ละ ห้วยสันบ่อเวียง ห้วยฮากไม้
ห้วยอุบลาน และห้วยยางอมพาย มีอ่างเก็บน้ำ
2
แห่งพร้อมระบบส่งน้ำ
2.
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
2.1
ประชากร
ประชากรมีทั้งหมด 2,775
คน 503 ครัวเรือน 632
ครอบครัว ชาย 1,430 คน หญิง
1,345 คน
หมู่บ้านที่รับผิดชอบ
แหล่งข้อมูล
: ข้อมูลในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (พฤศจิกายน
2547)
กลุ่มงานติดตามประเมินผล
ส่วนอำนวยการและวางแผน สำนักงานเกษตรที่สูง
2.2
การศึกษา
ราษฎรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาในปัจจุบันพบว่ามีผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
จำนวน 160 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3
ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
จำนวน 27 ระดับอุดมศึกษา
(
อนุปริญญา,ปริญญาตรี )จำนวน
17 คน
มีโรงเรียนทั้งหมด 6
แห่ง สังกัดสำนักงานประถมศึกษา คือ โรงเรียนบ้านอมพาย,
โรงเรียนบ้านสันติสุข,
โรงเรียนบ้านช่างหม้อ, โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์,
10 บ้านป่าแป๋, โรงเรียนบ้านฮากไม้,
และโรงเรียนบ้านฮากไม้เหนือ
2.3
การสาธารณสุข
สุขภาพอนามัยของราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่ดี
เนื่องจากราษฎรไม่ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
ยังมีอัตราการเกิดสูง และยังมีผู้ติดยาเสพติด เช่น ยาบ้า มีสถานีอนามัย
2 แห่ง ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 1
แห่ง
2.4 การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก เช่น การทำไร่ ทำนาและปลูกผัก
อาชีพรองได้แก่รับจ้าง อาชีพนอกภาคการเกษตร
2.5
รายได้
เฉลี่ย
15,000
บาท/ครอบครัว
2.6
การถือครองที่ดิน
พื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีเอกสิทธิ์ ประมาณ 70-80
ไร่ต่อครอบครัว มีการใช้พื้นหมุนเวียนไปตามพื้นที่ต่างๆ
(ทำไร่หมุนเวียน) ประมาร
8-9 ปี จะกลับมาปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมอีก
2.7
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ราษฎรส่วนมากทำไร่ (
ปลูกข้าว, พืชไร่,
ผัก ) หมุนเวียนไปตามพื้นที่ต่างๆ
ซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ประมาณ 70-80 ไร่
ระยะเวลาการหมุนเวียนกลับมาปลูกซ้ำที่เดิมประมาณ 8-9
ปี สำหรับพื้นที่นามีเพียงเล็กน้อย
2.8
แหล่งเงินทุน
-
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
-
สหกรณ์การเกษตร
-
พ่อค้าคนกลาง
(เอกชน)
-
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
2.9
การรวมกลุ่มของเกษตรกร
ราษฎรในพื้นที่มีการรวมกลุ่มต่างๆ
ได้แก่ กลุ่มธนาคารข้าวพระราชทาน กลุ่มสหกรณ์ผู้เพาะเห็ดหอมบ้านป่าแป๋
กลุ่มร้านสหกรณ์พระราชทาน ประชาสมทบ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้เลี้ยงโค
กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร กลุ่มทอผ้าและกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้ผู้ใช้น้ำ
2.10
ผลผลิตทางการเกษตร
1)
พืชผัก ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีหัวใจ ฟักทองญี่ปุ่น ฟักทองสีส้ม
และพื้นที่รวม
164
ไร่
เกษตรกร
35
ราย
2)
ไม้ผลได้แก่ พลับ เสาวรสรับประทานสดแลละกาแฟ เกษตรกร
33
ราย
3)
พืชไร่ ได้แก่ ข้าวไร่และถั่วแดงหลวง พื้นที่รวม
80
ไร่ เกษตรกร 35
ราย
4)
ปศุสัตว์/ประมง
ได้แก่ วัว, สุกร, ไก่,
ปลายี่สก, ปลาดุกอเมริกัน
(แห่ลงข้อมูล
รายงานประจำปี 2547
ฝ่ายพัฒนามูลนิธิโครงการหลวง)
2.11
แหล่งท่องเที่ยว
1)
แหล่งท่องเที่ยวการเกษตร ได้แก่ แปลงปลูกพืชผักไม้ผลของเกษตรกร
2)
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ เส้นทางจากบ้านสันติสุข-บ้านน้อย,น้ำตกฮากไม้
3)
แหล่งท่องเที่ยวศึกษาวัฒนธรรม ได้แก่ หมู่บ้านชาวเขาเผ่าลั๊วะ
,
กะเหรี่ยง
4)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การตีมีดบ้านป่าแป๋,การทอผ้าพื้นเมืองของชาวเขา
แหล่งข้อมูล
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง
3.
สภาพพื้นที่และทรัพยากรป่าไม้
สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายเป็นพื้นที่ทำกินของราษฎร
ถึงแม้ว่าบางแห่งจะเป็นพื้นที่ป่าไม้
อายุ
2-10 ปี ก็จะเป็นพื้นที่ทำกินเกือบทั้งหมด
โดยการทำหมุนเวียนของหมู่บ้าน เฉลี่ยประมาณร้อยละ 60
พื้นที่นาดำร้อยละ 20
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 15 และพื้นที่อื่นๆ
ร้อยละ 5
ปัจจุบันแต่ละหมู่บ้าน
ได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำในการนำน้ำมาใช้ประโยชน์
ซึ่งบางหมู่บ้าน ได้ดำเนินการมาแล้วประมาณ 10-15
ปี
เช่น บ้านป่าแป๋ บ้านฮากไม้ใต้
ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้อำนวยการ
นายราเชนทร์ อารีย์
สังกัด กรมพัฒนาและสวัสดิ์การ
เลขานุการคณะทำงานศูนย์ฯ
นายวิชัย ปัตถมสิงหไชย สังกัด สำนักงานเกษตรที่สูง
หัวหน้าศูนย์ฯ
นายพรชัย อุตะมะ สังกัด
มูลนิธิโครงการโครงหลวง
แหล่งข้อมูล :
ข้อมูลศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง