ประวัติความเป็นมา
เย้า
เป็นชนชาติที่มีประวัติความเป็นมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมือง
เมื่อสองพันกว่าปีแล้วบรรพบุรุษสองเย้า
มีการเคลื่อนไหวอยู่แถบลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและฮั่นเจียง
ตอนกลางของประเทศจีน
เย้ามีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ม่อ, หมาน,
มอเย้า, จิงหมาน ส่วนคำว่า
เย้า
นั้นได้เริ่มใช้เรียกกันในสมัยราชวงศ์ซ้อง
คำนี้มาจากคำว่ามอ เย้า
ซึ่งมีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของใคร
เย้าในประเทศจีนนั้น แยกได้เป็น
4 กลุ่มแต่กลุ่มเย้าเผ่าเบี้ยนมีประชากรมากที่สุด
และเป็นกลุ่มที่อพยพโยกย้ายอยู่ตลอดเวลา
เป็นระยะทางไกลและกระจายกันจอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางที่สุดด้วย
โดยเริ่มจากมณฑลฮูหนาน กวางตุ้ง กุ้ย โจว กวางสี
และยูนนาน
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน
เย้ากลุ่มนี้ได้อพยพเข้าสู่ภาคเหนือของเวียตนาม ในราวศตวรรณที่
15 16
ต่อจากนั้นก็อพยพเข้าสู่ประเทศลาว เมียนมาร์
และประเทศไทย
สาเหตุทีชนเผ่าเย้าอพยพนั้นมีสามประการคือ ประการแรก
ชนเผ่าเย้าเป็นชนชาติที่ทำไร่เลื่อนลอยจึงต้องอพยพโยกย้ายอยู่เสมอ
ประการที่สอง
คือถูกกดขี่ข่มเหงทางชนชั้นจากชนชาติที่ปกครองและประการสุดท้าย
เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคภัยไข้เจ็บ
ประชากรและการขยายตัว
กอร์ดอน ยัง
ชาวอเมริกันได้เขียนบันทึกเป็นรายงานไว้เมื่อ พ.ศ.
2503 ว่ามีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้าเพียง 74 หมู่บ้าน
ประชากร 10,200 คน
ตั้งหมู่บ้านกระจัดกระจายอยู่ในเขตภาคเหนือของจังหวัดน่าน
ภาคตะวันออกของจังหวัดเชียงราย
(ซึ่งรวมเขตจังหวัดพะเยาในปัจจุบันนี้ด้วย)
และเขตอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลขั้นสุดท้ายที่สถาบันวิจัยชาวเขารวบรวมไว้ในปี
พ.ศ. 2545 เย้าในประเทศไทยมี 173 หมู่บ้าน 6,692
หลังคาเรือน ประชากร 44,017 คน
อาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้คือ เชียงราย น่าน
พะเยา ลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย เชียงใหม่ ตาก
และเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 5.59
ของประชากรชาวเขาทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย
การตั้งบ้านเรือน
การตั้งหมู่บ้านของเย้า
มักจะเป็นการรวบรวมกันระหว่างกลุ่มแซ่ตระกูลหรือกลุ่มญาติพี่น้อง
โดยจะเลือกตั้งหมู่บ้านอยู่บนที่ราบตามไหล่เขา
บริเวณต้นน้ำลำธารหรือบริเวณหุบเขาในระดับความสูง
1,000 1,300 เมตร
จากระดับน้ำทะเลและจะต้องเป็นบริเวณที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้ในหมู่บ่านได้
เย้านิยมจะสร้างบ้านหันหน้าออกจากภูเขาหรือมักจะอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขา โดยจะปลูกบ้านเรียงรายตามแนวสันเขา
เพราะตามประเพณีไม่นิยมบ้านซ้อนกันซึ่งจะทำให้บ้านของตนไปตรงกับประตูผีบ้านคนอื่น
เย้าเชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายที่ถูกขับไล่ออกทางประตูผีนี้จะไปเข้าบ้านที่อยู่ตรงกับประตูผีในระยะใกล้ๆ
กัน
ตามประเพณี เย้าจะปลูกบ้านคร่อมดินโดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ผังของบ้านมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านยาวเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน
ด้านหน้ามีประตูผีบานหนึ่งเรียกว่าประตูใหญ่
หรือประตูผี
(ต้ม แกง) มีขนาดเล็กและมักปิดอยู่ตลอดเวลา
จะเปิดเมื่อทำพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน (ซุ่น
ป้าย)
นำศพผู้อาวุโสออกจากบ้าน นำเจ้าสาวออกจากบ้าน
(ยกเว้นเจ้าสาวที่เกิดเดือน 5,7 และ 8 ตามปฏิทินจีน)
และนำเจ้าสาวเข้าบ้าน
ด้านข้างของบ้านทั้งสองด้านจะมีประตูด้านละหนึ่งประตูเปิดใช้เข้าออกในชีวิตประจำวัน
ด้านยาวที่ไม่มีประตูนั้นจะกั้นเป็นด้านตามยาวจะแบ่งออกเป็น
2 ส่วน โดยจะถือเอากลางบ้านเป็นหลัก
ส่วนด้านประตูผีนั้นจะเป็นส่วนของผู้ชายซึ่งใช้สำหรับรับแขกและประกอบพิธีกรรมต่าง
ๆ
ส่วนทีเหลือนั้นจะเป็นส่วนของผู้หญิงที่ซึ่งจะเป็นที่ทำอาหาร
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านมีหิ้งผี (เมี้ยน ป้าย)
ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับประตูผีพอดี
แต่สำหรับบ้านของคนที่เคยผ่านพิธีโตโซหรือผู้ที่มีรูปผีใหญ่นั้น
หิ้งผีของเขาจะมีลักษณะเป็นตู้เรียกว่า เมี้ยนเตีย
จง หิ้งผีจะใช้สำหรับเชิญผีมาสิงสถิต เพื่อการเซ่นไหว้
วัสดุที่ใช้สร้างบ้านแบบดั้งเดิม
มักจะใช้วัสดุที่พอหาได้ในแต่ละท้องถิ่น หลังคามุงด้วยใบหวาย
หญ้าคา ไม้ไผ่ผ่าครึ่งประกบกัน
หรือใช้ไม้เนื้อแข็งผ่าเป็นแผ่นบาง ๆ
มุงเหมือนกระเบื้อง
ส่วนฝาบ้านนั้นจะใช้ไม้เป็นแผ่นหรือไม้ไผ่ทุบ ปล้อง
เสาบ้านนิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง
ในการสร้างบ้านหัวหน้าครัวเรือนจะเป็นผู้เลือกสถานที่
แล้วจะบอกสมาชิกในครอบครัวทราบต่อไปว่าพอใจหรือไม่
ถ้าพอใจก็จะทำพิธีเสี่ยงทายดูว่าผีจะพอใจหรือไม่
โดยปกติแล้วในการสร้างบ้านญาติพี่น้องต้องมาช่วยกัน
ฝ่ายชายจะช่วยแรงงานในการก่อสร้างและหาวัสดุก่อสร้าง
ผู้หญิงจะช่วยหุงหาอาหารแก่ผู้มาช่วยงาน
เมื่อปลูกเสร็จแล้ว ก็จะเลือกวันดี
เพื่อทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ข้างนอกบ้านก่อน โดยจะเชิญผีบรรพบุรุษมาช่วยดูแลลูกหลาน
จากนั้นก็จะนำไปเข้าในบ้านและเชิญพวกญาติพี่น้องผู้อาวุโส
และพวกที่มาช่วยสร้างบ้านมาร่วมรับประทานอาหารจึงเป็นอันเสร็จพิธี
เย้าไม่นิยมปลูกสิ่งก่อสร้างใด ๆ ไว้หลังบ้าน
ซึ่งเป็นด้านที่ไม่มีประตู
คงอนุญาตให้แต่เสาค้ำรางน้ำหรือท่อน้ำที่ต่อมาใช้บริโภคในบ้านเท่านั้น
เพราะเชื่อว่าด้านหลังบ้านนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของผีน้ำ
ซึ่งนำความชุ่มชื่นมาให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน
ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เช่น ยุ้งข้าว เล้าสุกร
จะสร้างไว้ด้านหน้า (ประตูผี)
บริเวณข้างบ้านจะมีสวนครัวเล็ก ๆ
ไว้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
3. ระบบครอบครัว
ครอบครัวเย้ามีทั้งแบบครอบครัวขยายและแบบครอบครัวเดี่ยวโดยปกติแล้วครอบครัวเย้าขยายออกทางบิดามารดาของฝ่ายชาย
คือเมื่อผู้ชายแต่งงานแล้วจะนำภรรยามาอยู่กับบิดามารดาของตน
บ้านหลังหนึ่งอาจ
มีหลายครอบครัว
ซึ่งมีความสัมพันธ์การเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน
และเย้านิยมซื้อเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมอีกด้วย ส่วนครอบครัวขยาย
ทางฝ่ายบิดาหรือมารดาของภรรยานั้นกับบิดามารดาของตน
บ้านหลังหนึ่งอาจมีหลายครอบครัว
ซึ่งมีความสัมพันธ์การเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน
และเย้านิยมซื้อเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมอีกด้วย ส่วนครอบครัวขยายทางฝ่ายบิดาหรือมารดาของภรรยานั้นเกิดขึ้นได้จากประเพณีที่ยินยอมให้ผู้ชายที่ต้องการจะแต่งงานกับผู้หญิง
แต่ไม่มีเงินทองที่จะจ่ายค่าตัวเจ้าสาวได้จึงต้องไปช่วยทำงานอยู่ที่บ้านของบิดามารดาของฝ่ายหญิง
ตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนที่จะมีพิธีแต่งงาน
แต่ในกรณีที่บิดามารดาของฝ่ายหญิงมีบุตรเพียงคนเดียว
อาจตกลงกันก่อนว่าหลังแต่งงานแล้วให้ฝ่ายชายอยู่กับฝ่ายหญิงตลอดไป
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการหมั้น
และการแต่งงานด้วย
ในครอบครัวขยาย
ผู้อาวุโสฝ่ายชายมีอำนาจสูงสุดในครัวเรือน
บุตรชายมีอำนาจลดหลั่นลงมาจากพ่อแม่
หน้าที่หลักของฝ่ายชายคือ ตัดไม้ ฝ่าฟืน ล่าสัตว์
ซ่อมแซมบ้าน และสร้างบ้าน
ตลอดจนการติดต่อกับบุคคลภายนอก
ผู้หญิงมีหน้าที่ช่วยฝ่ายชายในการทำมาหากินเตรียมอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน
และให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง
บุตรชายอาจแยกไปตั้งครอบครัวของตนเองใหม่ในแบบครอบครัวเดี่ยวได้ต่อเมื่อน้องชายได้แต่งงาน
แล้วนำภรรยามาอยู่กับบิดามารดาของตน
หรือเมื่อมีคนเลี้ยงดูบิดามารดาแทน
ในสภาพปัจจุบันนี้
ครอบครัวเย้ามีแนวโน้มที่จะเป็นครอบครัวแบบเดี่ยวเพิ่มขึ้น
เพราะต้องการความเป็นอิสระและเพื่อสร้างฐานะของตัวเอง
เย้าให้ความนับถือเชื้อสายฝ่ายชาย
ซึ่งรวมถึงการนับถือฝีบรรพบุรุษด้วย
ในการแต่งงานนั้นฝ่ายหญิงจะต้องทำพิธีออกจากผีตน (แชะ
เมี้ยน ตู้) ก่อนแล้วจะต้องทำพิธีขอเข้าฝีบรรพบุรุษของฝ่ายชาย
(ทิ่ม เมี้ยน ตู้)
หากสามีตายหรือหย่าร้างฝ่ายภรรยาก็จะต้องนับถือผีบรรพบุรุษของสามีต่อไป
นอกจากว่าบิดามารดาของสามีมีผู้สืบทอดผีบรรพบุรุษหลายคนก็อาจยินยอมให้ลูกสะไภ้ออกไปถือผีของคนอื่นได้
หรืออนุญาตให้ไปแต่งงานใหม่ และนับถือบรรพบุรุษของสามีใหม่ได้
แต่ถ้าบิดามารดาของฝ่ายชายหาผู้สืบทอดผีบรรพบุรุษไม่ได้
ก็อาจขอชายอื่นมาแต่งงานกับลูกสะใภ้ของตนและสามีใหม่ต้องนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายสามีเดิมด้วย
การนับถือผีของบรรพบุรุษของฝ่ายหญิงจะเกิดขึ้นได้เมื่อบิดามารดาของฝ่ายหญิงมีบุตรคนเดียว
ก็จะต้องขอให้ฝ่ายชายเข้ามานับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายชายด้วยก็ได้
ในกรณีที่ฝ่ายชายมาช่วยทำงานที่บ้านฝ่ายหญิงนั้น
ฝ่ายชายยังคงนับถือผีบรรพบุรุษของตนได้และฝ่ายหญิงที่นับถือผีของตนไปแต่ถ้าบุตรเกิดในบ้านฝ่ายใดก็จะให้นับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายนั้น
แต่จะนิยมให้เด็กเกิดในบ้านของฝ่ายบิดา
ส่วนบุตรที่เกิดขึ้นก่อนแต่งงาน
และไม่มีใครอ้างกรรมสิทธิ์ว่าเป็นพ่อของเด็ก
เด็กก็ต้องนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายมารดาและถือว่าเป็นลูกผีให้ซึ่งเย้าไม่รังเกียจสเพราะถือว่าได้แรงงานในครอบครัวเพิ่มขึ้น
4. สิทธิและความเชื่อถือ
ตามหลักฐานที่ปรากฎเย้าได้เริ่มเอาลัทธิเต๋ามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อครั้งอพยพทางเรือในช่วงคริสศตวรรษที่
13
แต่อย่างไรก็ตามเย้าก็ยังปฏิบัติตามแนวความเชื่อของตนที่เคยยึดถือ
และปฏิบัติกันมาก่อนที่จะมีการอพยพทางเรือ
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ได้แก่ความเชื่อเรื่องผี
ดังนั้น
จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อถือของเย้าจึงเป็นการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋ากับการเชื่อถือผี
เย้าที่นับถือพุทธนั้นยังมีการนับถือผีอยู่
แต่พวกที่นับถือศาสนาคริสต์นั้นไม่มีการเลี้ยงผี
ความเชื่อถือมีดังนี้คือ
ผีบรรพบุรุษ
เย้านับถือผีบรรพบุรุษของคนที่ตายไปแล้วเพียง 4
รุ่นเท่านั้น โดยเชื่อว่า
เมือบรรพบุรุษของตนตายไปแล้วก็จะสิงสถิตอยู่บนสวรรค์และจะคอยดูแลปกป้องลูกหลานของตน
ผีบรรพบุรุษยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนติดต่อระหว่างคนที่มีชีวิตกับเทวดาหรือผีใหญ่ของตนเองด้วย
นอกจากนี้ เย้ายังนับถือและเซ่น
ไหว้บูชาเบี้ยนฮู
ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดเย้าซึ่งมีกำเนิดมาตั้งแต่ประมาณ
2,000 ปี ก่อนคริสตศักราชเมื่อมี
การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ก็จะเชิญบรรพบุรุษของตนมาสิงสถิตอยู่ในบ้านและจะเชิญเบี้ยนฮูมาในพิธีที่สำคัญๆ
เช่น งานศพ
งานแต่งงาน เมื่อเสร็จพิธีก็จะเชิญกลับไป
การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษนี้
ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองจากผี
บรรพบุรุษเป็นอย่างดี
และในทางตรงกันข้ามหากที่ฝังศพหรือกระดูกของบรรพบุรุษถูกรบกวนหรือขาดการเซ่น
ไหว้ก็จะทำให้ลูกหลานเจ็บป่วยด้วย
ผีฟ้า
ซึ่งเย้าถือว่าเป็นฑูตสวรรค์
ผีใหญ่ (จุ
ซ้ง เมี้ยน)
เย้าได้บนบานต่อผีใหญ่ไว้เมื่อครั้งอพยพทางเรือและเมื่อขึ้นฝั่งได้จึงทำการเลี้ยงผีใหญ่มาตลอด
การนับถือผีใหญ่นี้เย้าได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า
ผีใหญ่ที่เย้านับถือนี้เป็นภาพวาดของเทวดาซึ่งมีทั้งหมด
17 ภาพ บางชุดอาจมีภาพบรรพบุรุษของตนอีกภาพหนึ่งรวมเป็น
18 ภาพ
เทวดาในภาพแต่ละภาพนั้นมีอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกันทั้งในสวรรค์และนรก
แต่ภาพที่สำคัญนั้นมีเพียง 3 ภาพ เรียกว่าฟามซิง
หรือผีสามดาว ซึ่งถือว่ามีอำนาจสูงสุด โดยปกติแล้ว
เย้าจะม้วนเก็บภาพเหล่านี้ไว้ในห่อผ้าที่เรียกว่า
เมี้ยนดับ และจะนำมาแขวนในพิธีทำบุญ (กว่า ตั้ง)
พิธีโตโซและพิธีศพเท่านั้น
ผีทั่วไป
เย้าเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผี เช่น ผีป่า ผีน้ำ
ผีภูเขา เป็นต้น ผีเหล่านี้มีทั้งผีดีและผีร้าย
ผีที่ดีจะสิงสถิตอยู่บนสวรรค์ ส่วนผีที่ชั่วร้ายมักจะอยู่ตามต้นไม้และมักจะทำอันตรายผู้อื่น เย้าจึงมีการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีเหล่านี้
เช่น การเลี้ยงผีท้องถิ่น (ซิบ ต่า ปุ้ง เมี้ยน)
การไล่ผีชั่วร้าย (ชุ่น ป้าย) เป็นต้น
ขวัญ
เย้าเชื่อว่าในร่างกายของคนเรามีขวัญ (เวิ่น)
อยู่ตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งหมด
12 แห่ง ได้แก่ ตา หู ปาก คอ แขน หน้าอก ท้อง
ขา ข้างหัว ด้านซ้าย ข้างหัวด้านขวา เท้า และมือ
แต่ขวัญขวองเด็กอายุต่ำกว่า 12
ขวบนั้นยังไม่แน่นอนว่าจะอยู่กับตัวเด็กตลอดไปหรือไม่
จึงเรียกว่าแปง
เมื่อขวัญแห่งใดแห่งหนึ่งตกใจหรือออกจากร่างไป
จะทำให้เจ้าของร่างกายเจ็บป่วย ดังนั้น การเรียกขวัญ
จึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้
ฤกษ์ ยาม
และโชคลาง ในการประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่าง ๆ
เช่น การแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ การปลูกพืช
การติดต่องาน เป็นต้น มักจะดูวัน เวลา
เหมาะสมในการประกอบกิจกรรมเหล่านี้
โดยจะยึดตามหลักของจีน
นอกจากนี้เย้ายังมีความเชื่อในเรื่องโชคลางอีกด้วย
เขาจะเลื่อน หรือยกเลิกการประกอบพิธีกรรม
หากมีสิ่งไม่ดีที่เชื่อว่าจะเป็นลางเกิดขึ้น เช่น
อาจงดการสู่ขอ หรือการหมั้น
เมื่อเห็นงูเลื้อยผ่านหน้าขบวนที่จะไปสู่ขอหมั้นนั้น
5. การปกครอง
เย้าไม่มาหัวหน้าเผ่าที่มีอาจสูงสุดไปการปกครอง
ในแต่ละหมู่บ้านจะมีหัวหน้าหมู่บ้าน
หมอผีประจำหมู่บ้านและคณะผู้อาวุโสร่วมกันปกครองหมู่บ้าน
แต่ละฝ่ายจะมีที่มา และอำนาจในการปกครองดังนี้คือ
หัวหน้าหมู่บ้าน
หัวหน้าหมู่บ้านมาจากการเลือกตั้งของคนในหมู่บ้าน
แต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ได้รับการเลือกมาเป็นหัวหน้าหมู่บ้านนั้น
มักจะมาจากกลุ่มแซ่ที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน
หรือมาจากกลุ่มผู้ที่ก่อตั้งหมู่บ้าน
หัวหน้าหมู่บ้านนี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้เป็นผู้ใหญ่หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านด้วยก็ได้
หัวหน้าหมู่บ้านมีหน้าที่หลักในการติดต่อประสานงานกับทางราชการหรือบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ร่วมกับผู้นำอื่น ๆ
ในการปกครองหมู่บ้านด้วย
หมอผี
หมอผีเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
ตามประเพณีให้แก่ชาวบ้านเริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย
และประเพณีของส่วนรวมด้วย
หมอผีจะต้องเป็นผู้ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาจีนได้
เพื่อที่จะได้อ่านตำราและบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมต่าง
ๆ ต้องฝึกฝนตัวเอง
เมื่อมีความรู้และความสามารถพอที่จะประกอบพิธีกรรมได้ก็จะเข้าพิธีรับการถ่ายทอดเป็นหมอผี
หมอผีเย้าจะแบ่งออกเป็นหมอผีใหญ่และหมอผีเล็ก
หมอผีใหญ่ประกอบพิธีทุกอย่างตั้งแต่เกิดจนตาย
รวมทั้งพิธีของหมู่บ้านด้วย
ส่วนหมอผีเล็กประกอบพิธีกรรมย่อย ๆ เท่านั้น เช่น
เรียกขวัญ เลี้ยงผีบ้าน
หมอผีมีอำนาจที่จะให้คำแนะนำตักเตือนชาวบ้านได้และร่วมกับผู้นำอื่น
ๆ ในการปกครองหมู่บ้านด้วย
ผู้อาวุโส
เย้าถือว่าผู้อาวุโสเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความสามารถในด้านต่าง
ๆ
จึงได้รับการเคารพและนับถือจากคนในหมู่บ้านแต่ละกลุ่มสายแซ่สกุลและมีผู้อาวุโสของตนคอยดูแลและปกครองลูกหลานของตน
ผู้อาวุโสแต่ละกลุ่มแซ่สกุลนี้จะรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ
เมื่อมีงานหรือเรื่องราวสำคัญคณะผู้อาวุโสก็จะมาชุมนุมหรือประชุมร่วมกัน
ในกรณีที่มีผู้กระทำความผิด
หรือมีข้อขัดแย้งระหว่างคนในหมู่บ้าน
หัวหน้าหมู่บ้านจะเชิญหมอผีประจำหมู่บ้านและคณะผู้อาวุโสของหมู่บ้านและคณะผู้อาวุโสของหมู่บ้านมาร่วมปรึกษาหารือกันในเรื่องการตัดสินความและการลงโทษซึ่งมีทั้งการว่ากล่าวตักเตือนและปรับสินไหม
ถ้าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
ส่วนโทษที่เกินความสามารถในการตัดสิน
คณะผู้ปกครองก็จะส่งให้ทางราชการเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
ในการปกครองและพัฒนาหมู่บ้านนั้น
หัวหน้าหมู่บ้านจะปรึกษาหารือกับหมอผีและคณะผู้อาวุโสในหมู่บ้าน
6. ประเพณีชีวิต
การเกิดและการตั้งชื่อ
เมื่อมีสมาชิกเกิดขึ้นมาใหม่ในบ้านจะให้คนนอกบ้านเห็นก่อนไม่ได้
ต้องบอกให้ผีรู้ก่อนโดยการทำพิธีของเข้าผี (ทิม
เมี้ยน คู้)
หมอผีทำพิธีทิมเมี้ยนคู้และตั้งชื่อให้เด็กภายใน 1
3 วัน หลังคลอด
แต่ต้องเป็นวันดี หากเป็นวันไม่ดีก็ต้องเลื่อนไป
โดยปกติแล้วชายเย้าจะมีชื่ออย่างน้อย
3 ชื่อ คือชื่อเล่น หรือชื่อเด็ก
ชื่อจริงหรือชื่อใหญ่ และชื่อผี
ชื่อเล่นหรือชื่อเด็กจะใช้ในตอนที่เป็นเด็กอยู่
โดยทั่วไปชื่อเด็กจะมี 2 คำ
คือคำแรกเป็นคำที่แสดงลำดับที่เกิดของผู้ชายตามลำดับ
ดังนี้คือ เก๊า โหล ซาน สู อู หลู่ ฉี่ ป่า
เจ๊าะ เสียบ
หรือคำแรกอาจตั้งชื่อตามเหตุการณ์ตอนที่คลอด
ส่วนคำที่สองจะเป็นคำที่ 2 ของพ่อ เช่น
บุตรชายคนแรกของนายจ้อยว่าจะตั้งชื่อเก๊าว่า
แต่ถ้าเกิดในขณะที่มีแขกก็อาจจะตั้งชื่อว่า แคะว่า
(แคะ หมายถึงแขก)
ส่วนลูกที่ไม่มีพ่อใช้ชื่อแม่ตามท้าย
ส่วนชื่อจริงหรือชื่อใหญ่นั้นมี 4 คำด้วยกันคือ
คำแรกเป็นชื่อเรียกตามแซ่ คำที่ 2
เป็นชื่อเรียกตามรุ่นของแต่ละแซ่ เช่น แซ่เติ๋น
คำแรกเป็นชื่อเรียกตามแซ่ คำที่ 2
เป็นชื่อเรียกตามรุ่นของแต่ละแซ่ เช่น แซ่เติ๋น
(ภาษาจีน เรียกว่าตั้ง) มีชื่อเรียกรุ่น 4 รุ่น คือ
ว่าน ฟุ จ้อย จั่น คำที่ 3 เป็นชื่อตัว
ส่วนคำที่ 4 เป็นชื่อพ่อตัวอย่างเช่น
นายตั้งว่านจ่อย เม้ง ลูก่จะมีชื่อเรียกว่าตั้งฟู
จั่น จ้อย แต่ที่นิยมเรียกกันโดยใช้จริงเพียง 2
คำกลางเท่านั้น เช่น ว่าน จ้อย และฟูจั่น
แต่เมื่อต้องการบอกแซ่ก็ใช้แซ่นำหน้าเป็นตั้งว่ายจ้อย,
ตั้งฟูจั่น
ในกรณีที่กลัวซ้ำกันก็ใช้ชื่อตามพ่อตามท้ายอีกเป็นตั้งฟุ
จั่น จ้อย การตั้งชื่อ่จริงจะทำเมื่อลูกทั้งหมดโตแล้ว
และจะใช้เรียกเฉพาะในการประกอบพิธีกรรมเท่านั้น
ชื่อผีนั้นมี 3 คำ คือคำที่หนึ่งแสดงลำดับรุ่นของแซ่
คำที่ 2 จะเป็นชื่อที่หมอผีตั้งให้ คำที่ 3
แสดงลำดับที่ของครอบครัว
ส่วนผู้ที่เคยผ่านพิธีโตโซมาแล้วก็จะมีคำว่า ล่อง
ต่อท้ายชื่อผีอีกคำหนึ่ง
ชื่อผู้หญิงนั้นมีชื่อเพียงชื่อเดียว โดยจะใช้ระบบเดียวกันกับการตั้งชื่อเด็กผู้ชายแต่คำแรกของผู้หญิงนั้น
เรียกตามลำดับดังนี้คือ หมวง ไหม ฟาม เฟย ฝัน
เอียด ลิว แบ๊ด จั๊วะ
เช่นลูกผู้หญิงคนโตของนายจ้อยว่ามีชื่อ หมวงว่า
ผู้หญิงจะใช้ชื่อนี้ตลอดไป
แต่เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องใช้แซ่ของสามี
และถ้าสามีผ่านพิธีโตโซมาแล้วก็มีคำว่า ซี
ต่อเชื่ออีกคำหนึ่ง ซึ่งจะใช้เรียกในพิธีเท่านั้น
พิธีเรียกขวัญ
เมื่อเย้าเจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับภัยอันตรายก็จะทำพิธีเรียกขวัญ
นอกจากนี้แล้วยังนิยมทีจะเรียกขวัญอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้งต่อปี
แต่เครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้ในการทำขวัญและพิธีที่ทำจะต้องต่างกันตามช่วงอายุ
โดยปกติแล้วจะใช้ไก่และหมู เมื่อมีอายุครบ 12 ปี 30
ปี 35 ปี และ 50 ปี ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
นั้นจะใช้ไข่ 1 ฟองกับไก่ 1 ตัว
พิธีแต่งงาน
ชายหญิงเย้า
มีอิสระอย่างมากในการเลือกคู่ครองและสามารถมีเพศสัมพันธ์กัน
ก่อนแต่งงานได้
เมื่อทั้งสองฝ่ายเกิดความพอใจ ฝ่ายชายจะมาขอวัน เดือน
ปี เกิด ของสาวไปดูว่าจะอยู่ด้วยกันดีหรือไม่
หากดีก็จะทำการหมั้นและตกลงกันเพื่อกำหนดวันแต่งงานกัน
โดยปกติแล้วการแต่งงานมี 2 แบบ คือแบบใหญ่และแบบเล็ก
การแต่งงานแบบใหญ่ประกอบพิธีทุกอย่างที่บ้านเจ้าบ่าว
ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 3 4
วัน
เจ้าสาวจะปิดหน้าด้วยผ้าสีแดงที่ห้อยลงมาจากโครงไม้บนศรีษะ
ส่วนการแต่งงานเล็กนั้นจะลดขั้นตอนลงมา
โดยจะประกอบพิธีที่บ้านเจ้าสาวก่อน
จึงไปประกอบพิธีที่บ้านเจ้าบ่าว
ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดรวม 2 วัน
ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าตัวเจ้าสาวได้ก็จะต้องไปอยู่ช่วยทำงานที่บ้านฝ่ายหญิงเป็นค่าตัวเจ้าสาวตามระยะเวลาที่ตกลงกัน
มี 3 ปี 6 ปี และ 12 ปี
โดยปกติแล้วเย้าจะแต่งงานกับเย้าด้วยกัน
มีนิยมที่จะแต่งงานกันภายในกลุ่มแซ่เดียวกัน
แต่ถ้าเป็นกลุ่มแซ่ย่อยเดียวกันจะต้องห่างกันอย่างน้อย
3 รุ่นขึ้นไป เย้าสามารถมีภรรยาได้หลายคน
แต่การแต่งงานครั้งใหม่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคนแรกเสียก่อน
ส่วนมากคนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่จะมีภรรยาหลายคนได้
การหย่าร้างนั้นไม่ค่อยปรากฏ แต่ตามประเพณีนั้น
หากฝ่ายภรรยาคบชู้
สามีอาจขอหย่าและเรียกปรับชายชู้และภรรยา
แต่ถ้าหากสามีต้องการหย่าโดยที่ภรรยาไม่มีความผิดจะเรียกค่าปรับไม่ได้
พิธีทำบุญ (กว่าตั้ง)
คำว่า กว่าตั้ง
ในภาษาเย้ามีความหมายว่าแขวนตะเกียง
ซึ่งน่าจะหมายความว่า เป็นการทำ
บุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น
และถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้วจะมีตะเกียง 3 ดวง
แต่เย้าพยายามที่จะแปลความหมายว่าการบวชเพื่อให้ชาวพุทธเข้าใจความรู้สึกได้ดีขึ้น
พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลักธิเต๋า จะเห็นได้ว่า
ในการประกอบพิธีกว่าตั้งนี่จะต้องนำภาพผีใหญ่ทั้งหมดแขวนเพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ได้ทำบุญแล้ว
และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อตายไป
จุดสำคัญของพิธีนี้คือการถ่ายทอดอำนาจบารมีจากหมอผี
ซึ่งขณะที่กำลังทำพิธีนี้หมอผีจะมีฐานะเป็นอาจารย์ของผู้เข้าร่วมพิธีอีกฐานะหนึ่ง
และผู้ผ่านพิธีนี้จะต้องเรียกผู้ที่ถ่ายทอดบุญบารมีนี้ว่าอาจารย์ตลอดไป
(ผู้ที่เป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอผีเสมอไปแต่ต้องผ่านการทำพิธี
กว่าตั้ง
หรือโตโซ)
ส่วนพิธีทำบุญแขวนตะเกียงในระดับที่สูงขึ้นไปเรียกว่าโตโซ
ผู้ที่ผ่านพิธีโตโซนี้จะมีตะเกียงทั้งหมด 12
ดวงโตโซนี้จะใช้หมอผีอย่างน้อย 12 คน
และต้องมีภาพผีใหญ่ทั้ง 12 ชุด
ใช้เวลาประกอบพิธีทั้งหมด 7 วัน
พิธีศพ
ศพนั้นจะฝังหรือจะเผาก็ได้
ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของญาติผู้ตายและสภาพพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน
สิ่งที่สำคัญคือความสะดวกในการฝังหรือเผาและศพหรือกระดูกของผู้อาวุโสทีฝังไว้จะต้องไม่ถูกรบกวนจากผู้อื่น
ในปัจจุบันนี้เย้านิยมเผาก่อนแล้วจึงนำกระดูกไปฝังในที่ที่ปลอดภัยปราศจากการรบกวนใด
ๆ ศพที่ตายดีจะต้องนำศพหรือกระดูกไปฝัง
ส่วนศพเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
ศพที่ตายจากเหตุไม่ปกติ
และศพของผู้ชายที่ไม่เคยผ่านพิธีกว่าตั้งมาก่อน
ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกที่ฝังมากนักอาจฝังที่ใดก็ได้
หรือเผาเลยก็ได้
สำหรับศพของผู้ที่เคยผ่านพิธีโตโซและภรรยาจะทำพิธีส่งวิญญาณให้ขึ้นสวรรค์
และต้องมีการเลี้ยงผีใหญ่
ในพิธีศพนั้นจะต้องนำภาพผีใหญ่มาแขวนด้วย
7. เทศกาลและประเพณีสำคัญ
เย้าจะนับ
วัน เดือน ปี ตามแบบปฏิทินของจีนคือในรอบ 1 ปี
จะมีเดือนทั้งหมด 12 เดือน เดือนใหญ่มี 30 วัน
และเดือนเล็กจะมี 29 วัน
เย้าไม่มีการนับวันเป็นสัปดาห์แต่จะนับเป็นรอบ 12 วัน
โดยเรียกชื่อวัน เป็นสัตว์ 12 ชื่อเหมือนกันรอบ 12 ปี
เทศกาล และประเพณีที่สำคัญของเย้ามีดังนี้
เทศกาลปีใหม่
ตรงกับวันตรุษจีน
มีการประกอบพิธีทั้งหมด 3 วัน
โดยวันแรกถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่า
จะเตรียมของใช้ที่ใช้ทุกอย่างให้เรียบร้อย
วันสิ้นปีนี้ เขาจะชักผ้า ทำความสะอาดบ้าน
วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่จะทำการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งบางบ้านอาจได้ทำมาก่อนแล้วภายใน
1 สัปดาห์ วันที่ 2
ซึ่งตรงกับวันตรุษจีนนั้นถือว่าเป็นวันปีใหม่
หรือวันถือ เย้าจะทำแต่สิ่งที่เป็นมงคลเท่านั้น
เช่น สอนให้เด็กเรียนหนังสือ หัดให้เด็กทำงาน
นำสิ่งที่ดีข้างบ้านและจะไม่ทำบางสิ่งบางอย่างที่ถือว่าเรื่องไม่ดี
เช่น จ่ายเงิน ทำงานหนัก ส่วนวันที่ 3 นั้น
ตามประเพณีแล้ว
เย้าจะไปทำความเคารพบุคคลที่เคารพนับถือ
แต่ในปัจจุบันนี้ทำกันในบางหมู่บ้านเท่านั้น
เทศกาล เซ้งเม้ง ตรงกับวันเซ็งเม้งของคนจีน
เย้าจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและหยุดงาน 1 วัน
เทศกาล เจียะ เจียบ เฝย ตรงกับวันที่ 14
เดือน 7 (ตรงกับสารทจีน) ตามปฏิทินจีน
เทศกาลนี้เย้าถือว่าเป็นวันปีใหม่ของผีทั้งหลายและเป็นเทศกาลที่สำคัญก่อนที่จะถึงวันที่
14 หนึ่งวัน เขาจะเตรียมสิ่งของต่าง ๆ
ที่จะใช้ในพิธีกรรม เช่น กระดาษ ขนม เมื่อถึงวันที่
14 จะทำการเซ่นไหว้ผีต่าง ๆ ทั้งหมด วันที่ 15
เดือน ถือว่าเป็นปล่อยผี จะไม่ไปทำงานในไร่
นอกจากนี้แล้ว
เย้ามีวันหยุดตามประเพณีเรียกว่าวันกรรม
ซึ่งมีวันกรรมเสือ วันกรรมนก วันกรรมหนู
วันกรรมฟ้า และวันกรรมเซ้งเม้ง เป็นต้น
8.
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติบางประการเฉพาะบุคคลภายนอก
-
ห้ามเข้าหมู่บ้าน
วันเสือวันแรกของปีใหม่และวันต่อไป รวม 2 วัน
-
ห้ามเข้าในบ้าน
เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ 1 3
วันแรกจนกว่าหมอผีจะทำพิธีเสร็จ
-
ห้ามเข้าในบ้านเมื่อมีพิธีเลี้ยงผีใหญ่
พิธีสะเดาะเคราะห์ และขอต้มกลั่นสุรา
ข้อปฏิบัติในขณะรับประทานอาหาร
-
ควรนั่งในที่ที่เจ้าของบ้านกำหนดให้นั่ง
ไม่ควรส่งเสียงดัง
-
ไม่ควรปักตะเกียบบนถ้วยข้าวเหมือนการปักธูป
-
ห้ามคว่ำถ้วยข้าวหรือแก้วเหล้า
-
เวลามีการเลี้ยงผีไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเจ้าของบ้านและไม่ควรรับประทานไก่หรือไข่ที่ใช้เลี้ยงผี
-
ห้ามนำผลผลิตครั้งแรกที่เก็บเกี่ยวได้มารับประทาน
-
ห้ามรับประทานเนื้อสุนักในหมู่บ้าน
ข้อห้ามอื่น ๆ
-
ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในบริเวณประตูผี
-
ห้ามยิงปืนในหมู่บ้าน
-
ห้ามจับหิ้งฝีและห้ามจับภาพผีใหญ่ในบ้าน
-
ห้ามปีนขึ้นยุ้งข้าว
หรือยุ้งข้าวโพด
-
ห้ามเข้าห้องนอนก่อนได้รับอนุญาต
-
ห้ามพูดขู่เด็กว่าจะเอาของมีคม หรืออาวุธทำร้ายเด็ก