ประวัติความเป็นมา
ลีซอเรียกตนเองว่า ลีซู
เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน
และแม่น้ำโขงทางต
อนเหนือของประเทศธิเบต
และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน ได้อพยพลงมาทางใต้
เนื่องจากเกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซอได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันอยู่ในเมียนมาร์
จีน อินเดีย และประเทศไทย
สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรก จากการสอบถามลีซอคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านลีซอดอยช้าง
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ได้ข้อมูลว่าเข้ามาระหว่างปี
พ.ศ.2462
2464 อพยพมาจากหมู่บ้านหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ เข้ามาตั้งฐานอยู่ที่บ้านลีซอดอยช้าง
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงมีอยู่ประมาณ 80
หลังคาเรือน
การแบ่งกลุ่มและการกระจายตัวของประชากร
การแบ่งกลุ่มลีซอแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ลีซอลาย และลีซอดำ ลีซอลายหรือบางทีก็
เรียกว่าลีซอลูกผสม (เขาเรียกว่าลีซูผิว์-ผิว์
แปลว่าลูกผสม) ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย
มีลีซอดำอยู่จำนวนน้อย
คือมีเพียงไม่กี่คน ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่มคือ
การแต่งกายและภาษาพูดไม่เหมือนกัน
ภาษาพูดนั้นแตกต่างกันเป็นบางคำแต่พอจะฟังกันเข้าใจ
การกระจายตัว ลีซอมีอยู่ในประเทศจีน อินเดีย
เมียนมาร์ และประเทศไทยในประเทศไทยมีอยู่ใน
9 จังหวัดคือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ ลำปาง และแพร่
ประชากรลีซอในประเทศไทยมีจำนวน 153 หมู่บ้าน 6,530
หลังคาเรือน ประชากร 37,916 คน คิดเป็นร้อยละ
4.14 ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย
3. ระบบสังคม
ครอบครัวลีซอ
โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบด้วย พ่อ
แม่ ลูก บางครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย เช่น
ครอบครัวที่บุตรชายแต่งงานกับหญิงสาวแล้วหญิงสาวเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย
หรือชายเข้าไปอยู่ในครอบครัวของพ่อแม่ฝ่ายหญิง
เนื่องจากต้องไปชดเชยแรงงานเป็นค่าสินสอดของฝ่ายหญิง
แต่เมื่อถึงเวลาที่สมควรหรือเหมาะสม ชายหญิงที่แต่งงานกันก็จะแยกตัวไปเป็นครอบครัวใหม่ขึ้นเช่นเดียวกันกับ
ครอบครัวของสังคมไทยเรา
อย่างไรก็ตามลีซอนิยมตั้งบ้านเรือนหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันกับญาติที่เป็นพี่เป็นน้องหรือมีแซ่สกุลเดียวกัน
แซ่สกุล ของลีซอมีประมาณ 20 แซ่สกุลเศษ
มีทั้งสิบเชื้อสายมาจากจีนและเป็นเป็นลีซอ
แท้ ๆ สำหรับที่เป็นลีซอแท้ ๆ
มีน้อยกว่าแซ่สกุลที่สืบเชื้อสายมาจากจีน
แต่ละแซ่สกุลเขารู้จักกันดี ไม่ว่าจะอยู่
ในท้องที่จังหวัดใด
มีการเคารพนับถือกันตามลำดับชั้น เมื่อเป็นแซ่สกุลเ
ดียวกัน และอยู่ในกลุ่มย่อยของ
แซ่สกุลเดียวกัน จะเกี้ยวพาราสีหรือแต่งงานกันไม่ได้
ลีซอนิยมหรือต้องการมีบุตรชายมากกว่าบุตรสาว อ้างว่าบุตรชายเมื่อเติบโตขึ้นสามารถเลี้ยงดูบิดามารดาได้
แต่บุตรสาวเมื่อเติบโตขึ้นแต่งงานแล้วจะต้องอยู่กับฝ่ายชาย
การเลี้ยงดูบุตร
ทั้งบิดามารดาช่วยกันเลี้ยงดูหรือบางทีปู่ ย่า
เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กในขณะที่พ่อแม่ไป
ทำงาน ปัจจุบันเมื่อเด็กอายุ 7
8 ขวบ ส่วนใหญ่นิยมให้เด็กเข้าโรงเรียนในหมู่บ้าน
หรือโรงเรียนที่อื่น เมื่อ 10 ปีขึ้นไป
พ่อแม่จะแยกให้เด็กหญิงเด็กชายนอนกันคนละแห่ง
เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางเพศระหว่างญาติ
พี่น้องท้องเดียวกัน
การเกี่ยวพาราสี
ปกติชายหนุ่มหญิงสาว
จะไม่เกี้ยวพาราสีกันเมื่อพบกันในหมู่บ้าน
แต่มีเวลาและ
โอกาสเกี้ยวกันดังนี้
ก.การเกี้ยวกันในไร่
ในขณะที่เดินทางไปไร่ ขณะที่ทำงานในไร่
หากไม่มีญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงที่เป็นชายที่อาวุโสอยู่ด้วย
ก็สามารถพูดจาเกี้ยวพาราสีกันได้
หรือหากพบว่าหญิงสาวอยู่คนเดียวเดินทางไปทำงานคนเดียว
ก็อาจจะพูดจาเกี้ยวสาวได้
ข.เกี้ยวกันที่ครกระเดื่องตำข้าว
ครกกระเดื่องยังมีให้เห็นในบางหมู่บ้าน
แต่ปัจจุบันลีซอนิยมสีข้าว
จากเครื่องจักร
บางหมู่บ้านจึงไม่พบเห็นครกกระเดื่องทำให้ประเพณีการเกี้ยวสาวที่ครกกระเดื่องหายไปด้วย
การเกี้ยวกันที่ครกกระเดื่อง
กลางคืนหญิงสาวจะออกมาตำข้าว (โดยมากอยู่ใกล้บ้าน)
ชายหนุ่มได้ยินเสียงตำข้าว
ก็จะออกมาช่วยตำข้าวและ ณ
ที่นั่นเอง ชายหนุ่มจะมีโอกาสถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาว พูดจากันด้วยเสียงกระซิบอย่างสนุกสนาน
ชายหนุ่มจับมือถือแขนหรือจับส่วนอื่นของร่างกายได้
ยกเว้นเบื้องต่ำตั้งแต่เอวลงมา ไม่เป็นการผิดป
ระเพณีแต่อย่างใด
ค.
เกี้ยวกันโดยร้องเพลงโต้ตอบกัน
ส่วนมากเขาจะนัดกันโดยมีชายหนุ่มเป็นหน้าม้าติดต่อหญิงสาว
นัดแนะกันให้มาร้องเพลง ณ จุดที่นัดพบกันใกล้ ๆ
หมู่บ้านในเวลากลางคืน หญิงสาว 2
3 คน และชายหนุ่ม
2-3 คน
มาที่จุดนัดพบหลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้ว
เขาจะมานั่งอยู่ห่างกันประมาณ 5
7 เมตร
ก่อกองไฟไว้แล้วร้องเพลงโต้ตอบกัน
บางทีก็ร้องเพลงตั้งแต่ 2 ทุ่มถึงเที่ยงคืน
บางครั้งถึงตี 3 ก็มี
ง.
เกี้ยวกันเมื่อถึงวันปีใหม่
ปีใหม่มีการเต้นรำกัน
ชายหนุ่มจับมือหญิงสาวได้ ขณะที่เต้นรำชายหนุ่มจะพูดจาเกี้ยวพาราสีกระซิบกระซาบรำพึงรำพันถึงความรัก
ความคิดถึงต่อหญิงสาว หากสาวพอใจ ชายหนุ่มอาจ
จะบอกและให้ของที่ระลึกหรือเงินทองเป็นการมัดจำหญิงสาวไว้ก่อน
และมาตกลงแต่งงานกันภายหลัง
คำพูดเกี้ยวสาว งัวะอะสีหมะหยัวะงัวะงีมาเถ่มาหยัวะ
แปลได้ว่า อะไรอะไร่ผมก็ไม่มี
มีเพียงหัวใจดวงเดียวเท่านั้น
การแต่งงาน
การแต่งงาน
จะมีขึ้นหลังจากที่ชายหนุ่มได้ให้ของมัดจำหญิงสาวไว้
โดยไม่มีใครทราบว่าเขาได้ให้
ของมัดจำไว้ตั้งแต่เมื่อใด
โดยมากเขาจะใช้วิธีนัดพบกันในไร่ แล้วก็พากันไป
หรือแกล้งหลอกให้หญิงสาวออกมานอกบ้านในยามค่ำคืนโดยให้เพื่อน
ๆ ของชายหนุ่มไปเรียก
เมื่อหญิงออกมาเขาก็จะบอกว่าชายคนรักอยากจะพู
ดด้วย เมื่อหญิงสาวถูกพาตัวไปแล้ว
พ่อแม่ฝ่ายชายจะส่งคนกลางหรือเฒ่าแก่จำนวน 2 คน
มาสู่ขอหญิงสาวจากพ่อแม่ฝ่ายหญิงตกลงเรื่องค่าสินสอด
การเลี้ยงคนในวันแต่งงานและกำหนดนัดหมายพิธีการแต่งงานกับตกลงกันอีกว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วจะให้อยู่กับพ่อแม่ฝ่ายชายหรืออยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงในระยะแรก
การแต่งงานลีซอถือว่าเป็นซื้อหญิงสาว
ถ้าไม่มีเงินเพียงพอก็ต้องไปอยู่บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิงทำงานชด
ใช้เงินค่าสินสอดตามที่ตกลงกันว่านานระยะกี่ปี
ปกติหญิงสาวคนหนึ่งชายหนุ่มจะต้องซื้อหรือให้เงินค่าสินสอดไม่ต่ำกว่า
5,000 บาท ขึ้นไป บางคน 15,000 บาท บางคนถึง
20,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็มี
ข้อนิยมของการแต่งงานเขานิยมให้บุตรชายแต่งงาน
กับหญิงสาวที่เป็นบุตรของน้องสาวหรือพี่สาวของพ่อหรือให้บุตรสาวแต่งงานกับบุตรชายของน้องชายหรือพี่ชายของแม่
สถานะของบุตรชายและบุตรสาวจองญาติพี่น้องกันนี้ลีซอเรียกว่าเป็น
ลูเปียว
หรือเป็นแฟนกันตั้งแต่แรกเกิดมาทีเดียว
ถ้าแต่งงานกันความสัมพันธ์ฉันท์ญาติพี่น้องจะใกล้ชิดกระชับกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าทุกคนที่อยู่ในสถานะดังกล่าวจะต้องแต่งงานกัน
การแต่งงานย่อมขึ้นอยู่กับความพอใจของชายหนุ่มหญิงสาวเป็นอันดับแรก
หากเขาไม่ชอบไม่รักกันไปรักคนอื่นจะแต่งงานกับคนอื่นก็เป็น
เรื่องเขามีอิสระห้ามไม่ให้
โดยปกติฝ่ายหญิงก่อนตกลงปลงใจมักจะถามารดาผู้บังเกิดเกล้าส่วนฝ่ายชายก็จะถามบิดาของตนว่าพอใจหรือไม่ถ้าจะแต่งงานกับคนนั้นคนนี้
ถ้าพอใจก็ตกลงแต่งงานกันถ้าไม่พอใจก็จะไม่แต่ง
โดยมากฝ่ายหญิงนั้นเชื่อมารดา ส่วนชายนั้นไม่แน่นัก
หากไม่มีบิดามารดาเขาก็อาจถามความพอใจจากญาติที่อาวุโส
ซึ่งให้ความเคารพนับถือ
เมื่อแต่งงานกันแล้วหากทัศนะความคิดไม่ตรงกันก็หย่าร้างกันได้
ถ้าฝ่ายชายขอหย่าเงินค่าสินสอด
เรียกคืนไม่ได้แต่ถ้าฝ่ายหญิงขอหย่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินค่าสินสอดให้ฝ่ายชาย
ชายลีซอบางคนมีภรรยา 2 คน
โดยบางครั้งทิ้งกับภรรยาคนแรกแล้วหนีไปมีคนใหม่
แต่บางคนก็มีภรรยาน้อยโดยเปิดเผย
ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันแต่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน
ซึ่งทั้งนี้เขาจะต้องเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี
มีเงินที่จะซื้อภรรยาใหม่ได้
และจะต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาคนแรกด้วย
ทราบข่าวเป็นที่เล่าลือกันโดย
ลีซอเล่าให้ฟังว่า มีชายหนุ่มลีซอคนหนึ่ง
อายุประมาณ 40 ปีเศษ อยู่ในท้องที่ อำเภอเชียงดาว
จังหวัดเชียงใหม่ มีภรรยาถึง 7 คน
ทุกคนยังมีชีวิติอยู่ ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกัน
ต่างคนต่างอยู่ แต่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน
ภรรยาคนที่ 7 อายุยังไม่ถึง 20 ปี
การแต่งงานโดยทั่วไปนิยมแต่งงานในเผ่าเดียวกัน
มีอยู่บ้างที่แต่งงานข้ามเผ่า เช่น แต่งงานกับมูเซอ
และอีก้อ ซึ่งเป็นเผ่าที่อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกัน
นอกจากนี้ก็มีหญิงลีซอแต่งงานกับจีนฮ่อหรือกับคนไทย
มีหญิงลีซอคนหนึ่งแต่งงานกับกะเหรี่ยง
ซึ่งลีซอมีความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องแปลก
แต่ปัจจุบัน ลีซอแต่งงานกับแม้วและเย้าก็มี
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของชาวเขาเผ่านี้ขึ้นอยู่กับอาชีพทางการเกษ๖รเป็นหลักมีการปลูกข้าว
ข้าวโพด ฝิ่น พืชผักและการเลี้ยงสัตว์
นอกจากนี้ก็มีอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นอาชีพรอง
เช่นการทอผ้า การเย็บปักลายผ้า
การทำเครื่องประดับด้วยโลหะเงิน การต้มสุรา
มีอยู่บ้างที่มีอาชีพรับจ้างเป็นครั้งคราว
ข้าว
ปลูกไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน
บางหมู่บ้านปลูกข้าวไม่ได้ผลดีทางราชการได้แก้ปัญหาร่วม
กับหน่วยงานเอกชนโดยการจัดตั้งธนาคารข้าวขึ้น
ข้าวโพด
ปลูกไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ อาทิ หมู และไก่
บางแห่งปลูกไว้สำหรับขายเป็นเงินสดหรือพืชเศรษฐกิจ
เช่น หมู่บ้านลีซอในจังหวัดเพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร
ซึ่งเป็นที่พืชทำรายได้อย่างดีแก่ชาวเขาในหมู่บ้าน
ฝิ่น
ปลูกไว้สำหรับขาย
ปัจจุบันนี้ปริมาณของพื้นที่ที่ปลูกฝิ่นได้ลดลงมาก
เนื่องจากทางราชการได้
เข้มงวดกวดขันในเรื่องนี้
ขณะเดียวกันได้พยายามหาพืชอย่างอื่นที่เหมาะสมมาส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกแทน
บางแห่งปลูกฝิ่นไม่ได้เนื่องจากอากาศร้อนเกินไป เช่น
ลีซอบ้านปางไม้แดง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ลีซอบ้านคลองลานกิ่ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
เขาได้ปลูกพืชอย่างอื่นแทน
พืชผัก
ปลูกไว้ในไร่ข้าว ข้าวโพด และไร่ฝิ่น
โดยปลูกควบคู่กันไปด้วย ผักที่ปลูก เช่น ฟัก
ฟักทอง ถั่งชนิดต่าง ๆ เผือก มัน ผักกาด ฯลฯ
เขาปลูกไว้สำหรับใช้บริโภคในครัวเรือน
การเลี้ยงสัตว์
ลีซอมักจะเลี้ยงหมูและไก่ไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมบูชาผี
และเป็นอาหารเลี้ยงม้า
และฬ่อ ไว้บรรทุกสิ่งของ
บางครัวเรือนเลี้ยงวัวไว้สำหรับขายเป็นสินค้า
อุตสาหกรรมในครัวเรือน ในบางหมู่บ้าน
เราจะพบเห็นผู้หญิงลีซอบางคนทอผ้า เย็บปักลายผ้า
สำหรับไว้ใช้เอง และสำหรับขายเป็นสินค้า
การทำเครื่องประดับโลหะเงิน
การตีเหล็กทำขึ้นไว้ใช้เอง
และบางคนมีฝีมือดีก็รับจ้างยึดอาชีพด้านนี้เป็นประจำก็มี
อย่างไรก็ดี
เศรษฐกิจของลีซอยังขึ้นอยู่กับการเกษตร การปลูกข้าว
ข้าวโพดและพืชผักชนิดต่าง ๆ
ซึ่งหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนได้เข้าไปส่งเสริมแทนการปลูกฝิ่น
ได้แก่พืชผักเมืองหนาว เช่น ผักกาด
กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่วแขก ถั่วลันเตา มันฝรั่ง
มะเขือเทศ ท้อ สาลี่
และมีบางแห่งปลูกข้าวบาร์เล่ย์เพื่อส่งขายให้บริษัท
พืชที่ลีซอหามาปลูกเอง ได้แก่ขิง ซึ่งบางปีราคาดี
กิโลกรัมละ 10 บาท ขึ้นไป
แต่บางปีราค่าตกเหลือกิโลกรัมละ 3-4 บาทเท่านั้น
ระบบความเชื่อถือ
ลีซอยังคงนับถือผีอยู่เป็นส่วนใหญ่
มีอยู่บ้างที่หันมานับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์
การนับถือ
ผียังคงพบเห็นในหมู่บ้านโดยทั่วไป มีผีประจำหมู่บ้าน
ผีบ้าน ผีเรือน ผีหลวง ผีป่า ผีน้ำหรือผีลำห้วย
ผีต่าง ๆ
อาจแบ่งออกเป็นผีดีและผีร้าย
ผีดีเป็นผีที่ให้คุณแก่พวกเขา เช่น ผีประจำหมู่บ้าน
ผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเรือน ส่วนผีร้ายได้แก่ผีป่า
ผีคนตายไม่ดี เช่น ผีถูกยิงตาย หรือถูกฟ้าผ่า
ในหมู่บ้านจะมีหมอเมือง
เปรียบเสมือนผู้นำทางศาสนาเป็นผู้ทำพิธีบูชาผีประจำหมู่บ้าน จะมีวันศีล
ทุก ๆ 15 วันต่อครั้ง
ซึ่งเขาจะหยุดทำงานกันทั้งหมู่บ้านห้ามใช้มีดหรือของมีคมทุกชนิด
แต่การล่าสัตว์ในป่าบาง
หมู่บ้านไม่มีข้อห้าม
นอกจากหมอเมืองก็มีหมอผีเป็นผู้กระทำตนเป็นสื่อกลางระหว่างผีกับคนโดยเฉพาะเมื่อเกิดความเจ็บป่วยโดยไปทราบสาเหตุ
ลีซอจะเชื่อกันว่าถูกผีกระทำเขาจะให้หมอผีมาเข้าทรงเชิญวิญญาณมาสิงในร่างของ
หมอผี ถามเหตุแห่งความเจ็บป่วย
และหมอผีจะเป็นผู้รักษาคนเจ็บป่วย
ผลการรักษาก็มีหายบ้างไม่หายบ้าง
แต่ปัจจุบันลีซอหันมานิยมการใช้ยาตำราหลวง
หรือถ้าเจ็บป่วยหนักก็มักจะเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลกันมาก
หมอเมือง
และหมอผีไม่มีการสืบสายต่อไปยังบุตรหลาน
หมอเมืองเป็นได้โดยการใช้ไม้คว่ำหงายเ
สี่ยงทายเอา ส่วนหมอผีเป็นโดยมีวิญญาณเข้าฝัน
หมอทั้งสองประเภทนี้เป็นได้เฉพาะผู้ชาย
ผู้หญิงเป็นไม่ได้ อย่างไรก็ตาม
บุตรชายของหมอผีมักจะเป็นหมอผีด้วย
การปกครอง
ลีซอไม่มีหัวหน้าเผ่าไม่มีผู้นำสูงสุด
ได้สอบถามลีซอบางคนเล่าว่าในอดีตที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ
จีนเขามีหัวหน้าสูงสุด
เป็นถึงชั้นที่เทียบเท่ากษัตริย์
เป็นผู้บัญชาการในการสู้รบ
และเคยยกทัพไปสู้รบกับชนเผ่า
อื่นหลายครั้ง
การปกครองของลีซอในระดับหมู่บ้านที่อยู่ในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาอาจเรียกได้ว่าเป็น
การปกครองแบบอนาธิปไตยคือทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ไม่มีใครใหญ่หรือเหนือกว่าใคร ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นจากทางราชการดูเหมือนจะไม่มีอำนาจอะไรมากนัก
เนื่องจากลีซอมีความรู้สึกนึกคิด
ว่า ใหญ่
เท่ากัน
มีลีซอบางคนกล่าวว่าทุกคนเกิดมาแล้วเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
หัวเข่าเท่ากัน
ความหมายคือ
ไม่มีใครเป็นใหญ่กว่ากัน
การปกครองของลีซอด้วยกันจึงเป็นที่ค่อนข้างยาก
แต่เขาก็มีสภาคนเฒ่าคนแก่หรือสภาอาวุโส
ประกอบด้วยผู้อาวุโสของแต่ละแซ่สกุลในหมู่บ้านรวมตัวขึ้นอย่างหลวม
ๆ
เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือและการยอมรับจากสมาชิกในหมู่บ้าน
ทำหน้าที่ดูแลปกครองรักษาความสงบเรียบร้อย
ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางราชการตัดสินคดีและหรือดำเนินกิจกรรมใด
ๆ
ที่เป็นประเพณีหรือสร้างสรรค์สิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้านของตนเอง
เจ้าหน้าที่ของทางราชการหรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความประพฤติดี จะเป็นคนไทยหรือลีซอก็ดีเมื่ออยู่ประจำในหมู่บ้านลีซอมักจะได้รับการยกย่องเคารพนับถือ และเป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของสภาผู้เฒ่าผู้แก่ด้วย
ทั้งนี้อยู่ที่ว่าหากเขาได้ประพฤติปฏิบัติตนจนเป็นที่ยอมรับของชาวเขาเผ่าลีซอ